บทความที่น่าสนใจ

 

ทำไมมนุษย์ต้องใส่แว่น?

จำนวนผู้เข้าชม: 189

    เมื่อมีความผิดปกติในเรื่องสายตามนุษย์ก็พยายามหาเลนส์มาช่วยปรับให้เห็นเป็นปกติ ที่ใช้กันทั่วไปและยอมรับกันว่าปลอดภัยที่สุดคือ "แว่น" ที่สวมอยู่ภายนอกซึ่งเลนส์อยู่นอกตาต่อมาก็มีแว่นสัมผัสหรือ คอนแทคแทนซึ่งรุกล้ำเข้าไปอีกนิดกล่าวคือ แตะอยู่ที่บนดวงตาตรงหน้าตาดำนั่นเอง เลนส์นี้ยังอยู่ในอยู่นอกลูกตามิได้ลุกล้ำอธิปไตยเข้าไปจนอยู่ภายใน

  
     "แว่น" ชนิดที่จะกล่าวถึงคงมีผู้รู้จักน้อยคือ  "แว่นในลูกตา" ซึ่งลุกล้ำเข้าอยู่ในภายหลังตาดำตรงตำแหน่งใกล้กับที่เลนส์ตาตามธรรมชาติอยู่นี่ล่ะ การจะเข้าไปได้ก็ต้องทำโดยการผ่าตัดและเลนส์ตาตามธรรมชาตินั้น ต้องมีโรคจนหมอต้องเอาออกไปก่อน แว่นชนิดนี้ใช้กันมามากกว่า 30 ปีแล้วใช้ในกรณีผ่าตัดต้อกระจกที่สุกงอม จนหมอต้องควักเลนส์ที่ขุ่นมัวออกและโดยทั่วไปหมอก็เพียงแนะนำให้ใส่แว่นเลนส์นูน ภายนอกเพราะการใส่แว่นอย่างนี้เข้าไปในแทนที่นั้นเป็นวิธีการที่ละเอียด ปราณีตและต้องใช้ฝีมือมาก แม้จะทำกันมา 30 ปีแล้วในในอเมริกาเองก็ยังถือว่าเป็นวิธีการในขั้นทดลองแต่จักษุแพทย์ก็ทดลองกับคนไข้จำนวนมากทีเดียวประมาณว่า 1 ใน 4 ของคนไข้ในอเมริกาที่หมอผ่าตัดเอาต้อกระจกออกหมอใส่แว่นนี้ให้ทันที

    ตำแหน่งที่หมอมักใส่แว่นนี้มี 2 ตำแหน่งคือ  ที่ว่างระหว่างตาดำกับม่านตาและ หลังม่านตาโดยการเย็บติดหรือใส่ขอเกี่ยวกับม่านตาซึ่งนี่แหละ  แว่นชนิดนี้ต้องมีขนาดเล็กมีประสิทธิภาพคงทนไม่พอปฏิกิริยาและที่สำคัญที่สุดต้องปราศจากเชื้อโรคอย่างไรก็ตามการผลิตให้ได้มาตรฐานดังกล่าวยังเป็นปัญหาอยู่และก็เป็นเหตุผลที่ใส่แว่นชนิดนี้ยังคงเป็นแค่การทดลองไม่ยอมรับเป็นวิธีการรักษาสักทีใช่ว่าการใส่แว่นแบบนี้จะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เลยบางคนอาจจะมีจอตาบวมตาดำช้ำถลอกจอดำหลุดเยื่อตาชั้นกลางอักเสบตกเลือดในตาและแว่นหลุด แต่ส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะเป็นชั่วคราวรักษาโดยให้ยาได้และไม่มีผลร้ายต่อสายตา

   แต่อย่างไรก็ตามคนให้จำนวนหนึ่งต้องเอาแว่นนี้ออกโดยเฉพาะพวกที่ปวดตายอย่างมากกลัวแสงและ สายตาพร่ามัว และใช่ว่าแว่นนี้จะใช้ได้กับผู้ป่วยที่ผ่าตัดต้อกระจกและทุกรายภาวะที่ห้ามผ่าตัดใส่แว่นนี้คือคนไข้ที่มีสายตาดีเพียงตาเดียวคนไข้ที่เซลล์ตาดำเสื่อมคนไข้ที่กลัวหรือวิตกกังวลกับกรรมวิธีการทำคนไข้ที่ตาสั้นมากกว่า 700 คนไข้เบาหวานที่แทรกซ้อนเข้าตาและคนไข้ที่จอตาเคยหลุดหรือเป็นต้อหินที่ควบคุมไม่ได้นอกจากนี้ยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้สูงอายุเว้นแต่พวกที่มีโรคไขข้อกระดูกเสื่อมไขข้ออักเสบอัมพาตขึ้นที่หรือปัญญาอ่อนซึ่งสวมแว่นปกติหรือใช้คอนแทคเลนส์ได้โดยความยากลำบาก


    เนื่องจากผลเสียระยะยาวยังไม่เห็นเป็นที่ทราบกันจึงไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กนอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีคอนแทคเลนส์ชนิดสวมปิดได้นานๆซึ่งจะช่วยให้สบายขึ้นแทนการเสี่ยงต่อการใส่แว่นในลูกตาอย่างไรก็ตามเมื่อสามารถปรับปรุงคุณภาพของแว่นและวิธีการผ่าตัดได้แล้วก็เป็นที่เชื่อว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและคนใช้ส่วนใหญ่ซึ่งไม่เกิดปัญหาจากการใส่เป็นพวกที่มีความสุขที่สุดและผลคุณค่าของแว่นชนิดนี้ที่สุด

 

 

^