บทความที่น่าสนใจ

 

วิธีป้องกันไม่ให้มีเชื้อราเกิดขึ้นในอาหาร

จำนวนผู้เข้าชม: 270

      ราที่เราเห็นบนอาหาร เกิดจากสปอร์ของราที่มีขนาดเล็ก ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ แล้วตกลงบนอาหาร ที่มีความชื้นและสภาวะที่เหมาะสม ราจะเริ่มเจริญเติบโต สร้าง​ใย​รา (hyphae) ออกมา ซึ่งเหมือนกับรากที่ยึดพื้นผิวนั้นไว้   เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์เพื่อแพร่กระจายออกไปบริเวณรอบ ๆ ได้มากขึ้น ทำให้มันแพร่กระจายตัวเองได้อย่างรวดเร็ว   12 – 24 ชั่วโมง แต่ในบางชนิดอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์

          เราไม่สามารถมองเห็นสปอร์ของราที่ตกลงบนอาหารได้ แต่เราจะเริ่มมองเห็นราก็ต่อเมื่อราเริ่มเจริญเติบโตสร้าง​ใย​รา (hyphae) ที่รวมกลุ่มกันเป็นก้อน ๆ เรียก​ว่า ​กลุ่ม​ใย​รา (mycelium) เจริญเติบโตฝังรากลึกลงไปมากแล้ว ดังนั้นกว่าเราจะรู้ว่าราขึ้นบนอาหาร ก็สายไปแล้วเพราะเชื้อราได้ครอบครองอาหารของเราไปหมดแล้ว เราจะทำอย่างไรกับอาหารที่ขึ้นรานี้ ควรกินหรือควรทิ้ง

    หลายคนอาจคิดว่า ถ้าให้ความร้อนกับอาหารจะสามารถทำลายเชื้อราได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วถึงราจะไวต่อความร้อนและสามารถถูกทำลายได้ที่อุณหภูมิ 60 – 70°C แต่ราบางชนิดมีการสร้างสปอร์ที่ทนกับความร้อนสูงไม่สามารถทำลายโดยความร้อนได้ และยังคงมีสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxins) ที่ราสร้างขึ้นมากระจายอยู่ทั่วในอาหาร ไม่สามารถทำลายออกไปได้ แล้วอย่างนี้ควรทิ้งจริง ๆ แล้วใช่หรือไม่….

จริง ๆ  เพียงแค่เราตัดส่วนที่มีราออกอย่างน้อย 1 นิ้ว แล้วสามารถนำไปกินต่อได้อย่างปลอดภัย จากข้อมูลของกระทรวงการเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้ให้คำแนะนำว่า

ผักและผลไม้ที่มีเนื้อแน่น และมีส่วนประกอบของน้ำต่ำ ทำให้ราเจาะเข้าไปในเนื้อได้ยาก  ตัวอย่างเช่น กะหล่ำปลี พริกหวาน และแครอท
ชีสแบบแข็ง ราไม่สามารถเจาะลงไปที่ข้างในชีสได้ โดยหลังจากตัดส่วนที่มีราออกแล้ว ให้เปลี่ยนวัสดุห่อใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดราซ้ำ
ซาลามิ (salami) แฮมแบบแห้ง และเนื้อสัตว์ตากแห้งที่เป็นชิ้นใหญ่ ซึ่งเนื้อสัตว์เหล่านี้มีความแข็ง และสามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้เป็นไปได้ที่จะมีราขึ้น แต่สามารถกำจัดราได้โดยการขูดออกแล้วนำไปทำกินต่อได้เลย
             ส่วนอาหารอื่น ๆ ที่มีเนื้อนิ่ม และมีส่วนประกอบของน้ำสูง ถ้าเรามองเห็นเชื้อราเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ควรจะทิ้งไปได้เลย เพราะราได้มีการเจริญเติบโตของใยราอยู่ในอาหารไปมากแล้ว รวมทั้งยังมีสารพิษกระจายอยู่ในอาหารด้วย ตัวอย่างอาหารที่ต้องทิ้งทันทีเมื่อเกิดรา เช่น ผักและผลไม้เนื้อนิ่ม ชีสแบบอ่อน ขนมปัง เนยถั่ว แยม โยเกิร์ต อาหารที่ปรุงสุกอย่าง เนื้อสัตว์และพาสต้า เป็นต้น

การเน่าเสียของอาหาร
       การเน่าเสียของอาหาร หมายถึง การที่อาหารนั้นไม่สามารถนำมาบริโภคหรือรับประทานได้อีก เนื่องจากอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดได้ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และจุลลินทรีย์ ซึ่งนอกจากทำให้ผู้บริโภคไม่ยอมรับแล้วยังก่อเกิดโรคและทำอันตรายให้กับผู้บริโภคได้

อาหารเสื่อมคุณภาพ เกิดการเน่าเสียจากจุลินทรีย์ ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของตลาดผู้บริโภค ประกอบด้วย เนื้อสัมผัส กลิ่น รูปร่างลักษณะปรากฏของอาหาร เป็นต้น การสูญเสียคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าแสดงว่า อาหารมีการเสื่อมคุณภาพเน่าเสีย

 

   การเน่าเสียของอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครื่องดื่ม ซอสปรุงรส น้ำจิ้ม ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่การมี หรือเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ แต่ยังรวมไปถึงการยอมรับของผู้บริโภคแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม การเสื่อมคุณภาพและการเน่าเสียของอาหารเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณการบริโภค  

ลักษณะเมื่ออาหารเกิดการเน่าเสียหรือบูด กลิ่นของอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เหม็นเปรี้ยว เหม็นหืน เหม็นเน่า ลักษณะของอาหารมีการเปลี่ยนแปลง เช่น อาหารแข็งเป็นก้อน แฉะ เหนียว แกงกะทิอาจข้น หนืด ติดช้อน มีฟอง รสชาติของอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น เปรี้ยว ซ่าลิ้น เป็นต้น พบสิ่งแปลกปลอมหรือสีของอาหารเปลี่ยนซึ่งอาจเป็นเชื้อราได้

 วิธีป้องกันไม่ให้มีเชื้อราเกิดขึ้นในอาหารและป้องกันมิให้เชื้อราเข้าสู่ร่างกายคือ
1. ต้องเก็บอาหารไว้ให้มิดชิดด้วยทำให้อาหารนั้นแห้งเสียก่อนเพราะว่าถ้ามีแอมถ้ามีความชื้นน้อยเชื้อราก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้หรือเจริญเติบโตได้ยากและไม่สามารถจะสร้างสารพิษได้
2. เมื่อพบว่าอาหารมีเชื้อราเกิดขึ้นไม่ควรนำอาหารนั้นมารับประทานเพราะความเสียดายโดยเด็ดขาด
3. อาหารบางอย่างมีเชื้อราชอบขึ้นและเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ถั่วลิสงหรือถั่วอื่นๆเวลารับประทานอาหาร ควรคัดเลือกแต่ถั่วที่มีลักษณะใหม่ๆไม่มีสีน้ำตาลหรือสีดำของเชื้อรา ถ้าไม่สามารถคัดเลือกได้ เช่น ถั่วลิสงป่นก็คนหลีกเลี่ยงอย่ารับประทาน ซึ่งจะช่วยให้รอดพ้นจากการได้รับเชื้อราเข้าสู่ร่างกายไปได้

 

 

^