จำนวนผู้เข้าชม: 228
เขาบอกว่าการมีโปรเจสเตอโรนระดับสูงนี้ทำให้เกิดผลเสียบนใบหน้า คือ ทำให้เกิดฝ้า ฝ้า หมายถึง ผื่นดำๆซึ่งปรากฏบนใบหน้า ตามความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ทั้งหญิงและชายแต่หญิงจะเป็นมากกว่า ตำแหน่งที่เกิดฝ้า คือหน้าผากบริเวณใกล้ชายขอบผม แต่นอกจากนี้ก็มีอีก เช่น เหนือขนคิ้ว 2 ข้าง โหนกแก้ม ดั้งจมูกและปลายจมูก และแห่งสุดท้าย คือ บริเวณหนวดซึ่งการเป็นฝ้าที่บริเวณหนวดจะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากหญิงบางคนมีขนบริเวณหนวด ยาวพอสมควรอยู่ก่อนแล้ว ส่วนมากแล้วการเกิดฝ้ามักจะเริ่มเป็นบริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง ก่อนที่อื่น โดยมองเห็นเป็นจุดดำเล็กๆ เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือนจุดดำจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเสมอ และมักจะกระจายไปที่อื่นอีก โหนกแก้มหนึ่ง การเกิดฝ้า เกิดจากแสงแดดหรือการมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน สูงในร่างกาย ซึ่งพบในรายที่ตั้งครรภ์และหรือรับประทานยาคุมกำเนิด
“ฝ้า” เป็นภาวะที่เซลล์สร้างเม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานเยอะขึ้น จึงมีเม็ดสีหรือเมลานินมากขึ้น ทำให้เกิดปื้นสีเข้มบริเวณผิวหนังเรียกว่า “ฝ้า” ซึ่งฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีเข้มกว่าผิว เฉดสีไล่ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ มักพบฝ้าบริเวณที่ร่างกายสัมผัสแสงแดด เช่น ใบหน้า หน้าผาก โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง เป็นต้น ฝ้ามักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
ฝ้า เกิดจากการที่เมลานิน หรือเม็ดสีมีมากเกินไป ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ (Hyperpigmentation) และจะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีลักษณะเป็นปื้นหรือเข้มเป็นกระจุกได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ ฝ้าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้าคือ รังสี UV ในแสงแดด การกินยาคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ การเข้าสู่วัยทองและวัยหมดประจำเดือน การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีผลต่อการแพ้และกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินบนผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงกรรมพันธุ์ที่ทำให้ฝ้ากลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยครั้ง ซึ่งคนผิวเข้มมีโอกาสเป็นฝ้าง่ายกว่าคนผิวขาวอีกด้วย
ลักษณะการเกิดฝ้า ฝ้ามีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่
1. ฝ้าแบบตื้น เกิดได้ง่าย อยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) มีสีน้ำตาลขอบชัด รักษาให้จางลงได้ด้วยการทาครีมกันแดดหรือยาทาฝ้าอ่อน ๆ
2. ฝ้าแบบลึก เกิดในระดับชั้นผิวหนังแท้อยู่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า มีสีม่วง ๆ อมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัดเจน รักษาได้ยากกว่าฝ้าแบบตื้น ไม่ค่อยหายขาด
3. ฝ้าแบบผสม เกิดทั้งในระดับชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้รวมกัน โดยตรงกลางมักมีสีเข้มแสดงถึงฝ้าในชั้นหนังแท้ส่วนประกอบมักจะมีสีจางกว่าแสดงถึงฝ้าในหนังกำพร้าฝ้าชนิดนี้ ยังเป็นฝ้าที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย