บทความที่น่าสนใจ

 

ทำฝนเทียมได้อย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 136

     การทำฝนเทียมในปัจจุบันได้อาศัยเทคนิคจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดฝนในธรรมชาติฉะนั้นในการทำฝนเทียมนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามเรียนแบบธรรมชาติโดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะเหมาะสมพอจะเกิด ฝนได้
การทำฝนเทียมในปัจจุบันมี 2 วิธี

   
วิธีแรกเป็นการทำฝนเทียมในเขตอบอุ่นซึ่งมีเมฆที่ทางอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยใช้วิธีโปรยหรือหว่านเม็ดน้ำแข็งแห้งเล็กๆหรือผง silver iodide ทำให้เมฆกลายเป็นฝน ซึ่งจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วและตกลงมาเป็นหิมะแล้วจะละลายกลายเป็นน้ำฝน 

         การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้ เขาใช้โปรยหรือหว่าน ด้วยเม็ดน้ำแข็งแห้งเล็กๆ (dry ice) หรือซิลเวอร์ ไอโอไดด์ (silver iodide) ตามธรรมดาเม็ดน้ำแข็งแห้งเม็ดเล็กๆ ซึ่งมีอุณหภูมิ -78°C. จะสามารถทำให้เมฆกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และตกลงมา ส่วนผงซิลเวอร์ไอโอไดด์นั้นทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสของการเกิดผลึกน้ำแข็ง ผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาเป็นหิมะหรือฝน การหว่านเม็ดน้ำแข็งแห้ง หรือผงซิลเวอร์ไอโอไดด์นั้น อาศัยหลักของการเกิดฝนตามกรรมวิธีของเบอร์เจอรอน-ฟินดีเซน และใช้สำหรับทำฝนเทียมในเมฆซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0°C. แต่ทว่าปฏิกิริยาของน้ำแข็งแห้ง หรือผงซิลเวอร์ไอโอไดด์ทำหน้าที่ต่างกัน

ส่วนอีกวิธีหนึ่ง เป็นการนำฝนเทียมในเขตร้อนซึ่งมีเมฆที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยใช้วิธีโปรยเม็ดน้ำธรรมดาหรือน้ำเกลือเพื่อจะทำให้เม็ดน้ำหรือน้ำเกลือทำหน้าที่เป็นเมฆขนาดใหญ่กว่าเมฆ เม็ดเมฆที่มีอยู่และเมื่อเม็ดเมฆมีขนาดต่างๆกันก็จะทำให้เกิดการรวมตัวกันโดยการชนกัน พฤติการณ์นี้จะเกิดซ้ำๆต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่เมื่อเม็ดน้ำขนาดใหญ่ นี้แยกแตกออกจากกันแล้วเกิดกรรมวิธีซ้ำๆอีกจนเคยเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ทำให้เกิดเป็นฝนตกลงมา

      การทำฝนเทียมจากเมฆซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 0°C. หรือเรียกว่าเมฆอุ่นนี้มีหลายแห่งที่เขาใช้โปรยด้วยเม็ดน้ำธรรมดา หรือน้ำเกลือ เพื่อที่จะให้เม็ดของน้ำ หรือน้ำเกลือทำหน้าที่เป็นเม็ดเมฆขนาดใหญ่กว่าเม็ดเมฆที่เป็นอยู่ และเมื่อเม็ดของเมฆมีขนาดต่างๆ กัน ก็จะทำให้เกิดการรวมตัวกันโดยการชนกัน ตามกรรมวิธีรวมตัวกัน และชนกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

  

สารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียม
สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical) ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ

แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride; CaCl2)
แคลเซียมออกไซด์ (Calcium oxide; CaO)
สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic chemicals) ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ

ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))

สารที่ทำหน้าที่เป็นสารดูดซับความชื้นประการเดียว
เกลือ (Sodium chloride; NaCl)

^