บทความที่น่าสนใจ

 

การใช้สารหล่อลื่นอย่างปลอดภัย ทำอย่างไรบ้าง?

จำนวนผู้เข้าชม: 87

 โดยทั่วไปสารหล่อลื่นไม่เป็นพิษแต่การต้องแตะต้องกับมันบ่อยๆและนานๆอาจเกิดผิวหนังอักเสบขึ้นได้ ถ้าหายใจเอาละอองน้ำมันเข้าไปมากๆอาจทำให้ ระคายเคืองเราจึงต้องควรระมัดระวังในการใช้สารหล่อลื่นโดย
1. อย่าให้น้ำมันเบนซินหรือน้ำมันก๊าซหรือทินเนอร์และตัวทำละลายอื่นๆล้างมือเพราะจะไปละลายไขมันธรรมชาติในผิวหนังออกมา ทำให้ผิวหนังแห้งและแตกและอาจกลายเป็นโรคผิวหนังได้ ให้ใช้สบู่หรือครีมล้างมือและล้างน้ำมันออกให้หมด ห้ามใช้ผงซักฟอก
2. อย่าใส่เสื้อผ้าที่เปียกน้ำมันหรือรองเท้าที่เปียกน้ำมันอยากเก็บผ้าเช็ดมือที่เปียกน้ำมันไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือเสื้อ
3. อย่าหายใจเอาละอองน้ำมันเข้าไปถ้าจำเป็นก็ใส่อุปกรณ์ป้องกัน
4. อย่าทิ้งน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงบนพื้นดินหรือลงท่อระบายน้ำหรือลงแม่น้ำลำคลอง

   

     น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ (อังกฤษ: motor oil, engine oil) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า น้ำมันหล่อลื่น หรือ น้ำมันเครื่อง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ น้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ลดแรงเสียดทานของวัตถุชิ้นที่เสียดสีกัน ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เคลือบช่องว่างระหว่างผิวสัมผัส ทำความสะอาดเขม่าและเศษโลหะภายในเครื่องยนต์ ป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมและกรดต่างๆ และป้องกันกำลังอัดของเครื่องยนต์รั่วไหล  

 

แหล่งที่มาของน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ทำมันเครื่องมี 3 แหล่งคือ

น้ำมันที่สกัดจากพืช
น้ำมันที่สกัดจากน้ำมันดิบ
น้ำมันสังเคราะห์ น้ำมันชนิดนี้จะให้คุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด
น้ำมันหล่อลื่น
   Lube Oil , Lubricating Oil ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการกลั่น น้ำมันดิบ มีช่วงจุดเดือดระหว่าง 380-500 องศาเซลเซียส และเติมสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ ในปริมาณเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงสมบัติให้เหมาะสมสำหรับใช้งานหล่อลื่นแต่ละอย่าง เช่น ความหนืดโดยเยื่อบางๆ หรือเนื้อครีม ของน้ำมันหล่อลื่นจะเคลือบอยู่ระหว่างผิวของชิ้นส่วน 2 อย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนโลหะที่มีการเคลื่อนไหวผ่านไปมา ทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีกันโดยตรง ขณะเดียวกันจะช่วยทำความสะอาด และระบายความร้อน โดยช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แอดดิทีฟอื่นๆ ที่มักผสมลงไปด้วย ได้แก่ สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

     มาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ (Society of Automotive Engineer : SAE) ใช้ระบุความหนืด (ความข้นใส) ของน้ำมันเครื่อง ค่ายิ่งมากก็ยิ่งมีความหนืดมาก โดยแบ่งน้ำมันเครื่องออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
เกรดเดียว (monograde) คือน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดค่าเดียว เช่น SAE 40 หมายความว่า ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส น้ำมันจะมีค่าความหนืดอยู่ที่ เบอร์ 40
เกรดรวม (multigrade) คือน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืด 2 ค่า เช่น SAE 20W-50 หมายความว่า ในอุณหภูมิ -25 องศาเซลเซียส น้ำมันจะมีค่าความหนืดอยู่ที่ เบอร์ 20 แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส จะเปลี่ยนค่าความหนืดเป็น เบอร์ 50
อักษร "W" ใช้เป็นตัวบ่งบอกว่าค่าความหนืดนี้เป็นเกรดฤดูหนาว (วัดที่ -25 องศาเซลเซียส) หากไม่มีจะเป็นเกรดฤดูร้อน (วัดที่ 100 องศาเซลเซียส)

 

^