บทความที่น่าสนใจ

 

ออกซิเจนช่วยกำจัดน้ำเสียได้อย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 107

    การย่อยสลายของสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ แบ่งได้คร่าวๆเป็น 2 ชนิดคือ พวกที่ใช้และไม่ใช้แก๊สออกซิเจน พวกจุลินทรีย์ใช้แก๊สออกซิเจน จะกินสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำแล้วใช้ก๊าซออกซิเจนไปเผาผลาญสิ่งที่มันกินเข้าไป ยิ่งมีสารอินทรีย์ ปนอยู่ในน้ำมาก ความต้องการของก๊าซออกซิเจนก็จะมากตาม ดังนั้นถ้าก๊าซออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำมากก็จะทำให้มันช่วยสามารถกำจัดสารอินทรีย์เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติในแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีพวกจุลินทรีย์ต่างๆอยู่แล้ว ถ้ามีก๊าซออกซิเจนอยู่อย่างเพียงพอแหล่งน้ำธรรมชาติก็จะสามารถกำจัดน้ำเสียด้วยตัวมันเองได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การทำให้ตัวเองบริสุทธิ์

ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือดีโอ (Dissolved Oxygen: DO)โดยปกติออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้มาจากบรรยากาศและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ Dissolved Oxygen จะแปรผกผันกับอุณหภูมิ และความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ถ้าหากอุณหภูมิและความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำสูง จะทำให้ออกซิเจนจะละลายในน้ำได้น้อยลง

    

น้ำในธรรมชาติทั่วไปปกติจะมีค่าดีโอ Dissolved Oxygen ประมาณ 5-7 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L)
มาตรฐานน้ำที่มีคุณภาพดึ จะมีค่า DO ประมาณ 5 – 8 mg/L
น้ำเสีย จะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 mg/L
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ สำหรับสัตว์น้ำ
ต่ำกว่า 4 mg/L ปลาตายหมด
ต่ำกว่า 4 -6 mg/L ปลาจำนวนน้อยมากๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ต่ำกว่า 6.5 – 9.5 mg/L ปลาตัวใหญ่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ปลาตัวเล็กๆอยู่ไม่ได้
ต่ำกว่า 9.5 – 12 mg/L ปลาทุกขนาดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อออกซิเจนในน้ำ (Dissolved Oxygen)
แหล่งน้ำสองแห่งที่อิ่มตัวด้วยอากาศ 100% ไม่จำเป็นต้องมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำเท่ากัน ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำจริง (เป็นมิลลิกรัม/ลิตร) จะแตกต่างกันไปตามอุณหภูมิ ความดัน และความเค็ม

1.ออกซิเจนในน้ำจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นซึ่งหมายความว่าน้ำผิวดินมีปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อยกว่าบริเวณน้ำลึกกว่าและเย็นกว่า ตัวอย่างเช่นที่ระดับน้ำทะเล (1 atm หรือ 760 mmHg) และอุณหภูมิ 4°C จะมีออกซิเจนละลายน้ำ 10.92 มก/ลิตร แต่ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเป็นอุณหภูมิห้อง 25°C จะมี DO อยู่ที่ 8.68 mg/L เท่านั้น

2.ออกซิเจนในน้ำลดลงแบบทวีคูณเมื่อระดับความเค็มในน้ำเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ ที่ความดันและอุณหภูมิเท่ากัน น้ำเค็มจึงมีออกซิเจนละลายน้ำน้อยกว่าน้ำจืดประมาณ 20%

3.ออกซิเจนในน้ำจะเพิ่มขึ้นเมื่อความดันบรรยากาศเพิ่มขึ้น น้ำที่ระดับความสูงน้อยกว่าระดับน้ำทะเล (ความดันบรรยากาศมาก) สามารถเก็บออกซิเจนในน้ำได้มากกว่าน้ำที่ระดับความสูงที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล กล่าวโดยสรุปแอ่งน้ำที่อยู่บนภูเขาสูงมีโอกาสที่จะมีออกซิเจนในน้ำน้อยกว่าแอ่งน้ำในระดับพื้นราบ

 

^