บทความที่น่าสนใจ

 

เครื่องดื่มเกลือแร่และวิตามินมีความจำเป็นแค่ไหน?

จำนวนผู้เข้าชม: 111

เกลือแร่และวิตามินเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งโดยปกติคนเราจะได้รับเกลือแร่และวิตามินเป็นประจำจากอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องหาเกลือแร่มาบริโภคอีก เพราะการบริโภคเกลือแร่โดยที่ไม่มีความจำเป็นแล้ว นอกจากจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรต่อร่างกายแล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายได้อีกด้วยเพราะโดยปกติร่างกายของคนเราจะมีเกลือแร่ชนิดต่างๆสมดุลซึ่งกันและกันอยู่แล้ว เมื่อได้รับเพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นก็อาจจะทำให้เกิดความเสียความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย การเสียความสมดุลนี่เองสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและทารก ซึ่งมีความต้านทานน้อย แต่บางครั้งก็มีความจำเป็นเช่นกันที่เราต้องบริโภคเกลือแร่ในปริมาณที่มากกว่าปกติที่คนได้รับอยู่เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้ก็เพื่อจะรักษาความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เราไว้ เพราะเกลือแร่สามารถถูกขับออกมาจากร่างกายได้พร้อมๆกับเหงื่อ ดังนั้นในผู้ที่ออกกำลังกายมาก เช่น นักกีฬาหรือผู้ที่ทำงานหนักตลอดเวลาก็จะมีปริมาณเกลือแร่ถูกขับออกมากกว่าคนปกติ ร่างกายจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับเกลือแร่ในปริมาณที่มากขึ้นนั่นเอง และเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย

     

   เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม

   

ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้

     แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน  และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติซึ่งจะทำให้ร่างกายเติบโตและแข็งแรง
     

     เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด


    ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง

 

     แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้ ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน


     ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้มีการทำงานสัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันไม่ให้สารพิษชื่อว่าฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ช่วยลดการแพ้เคมีภัณฑ์ต่างๆได้ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร


         สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติหากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี (เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง) ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลงบำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า


     โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า ประโยชน์ของโครเมียมมีดังนี้ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

 

^