บทความที่น่าสนใจ

 

ดีบุกคืออะไร ประกอบด้วยสารอะไร เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

จำนวนผู้เข้าชม: 143

   แร่ดีบุกนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียกว่า แคสซิเตอไรด์ ที่มีอยู่ในประเทศไทย จัดเป็นแร่ที่มีคุณภาพดี และมีเนื้อดีบุกถึง 78.8% เมื่อนำมาถลุงจะได้ดีบุก ที่มีความบริสุทธิ์ถึง 99.5% ประเทศไทยเรามีแหล่งแร่ดีบุกมากมายหลายจังหวัดอยู่ในแนวเขตที่ทอดยาวลงมาตั้งแต่จังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือสุดจรดภาคใต้จั งหวัดที่มีการขุดและผลิตแร่ดีบุกเป็นสินค้าส่งออกขายต่างประเทศได้แก่จังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศเช่นจังหวัดพังงาภูเก็ตและระนองเป็นต้นที่บุกและสารประกอบดีบุกมีที่ถูกนำมาใช้เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราในรูปลักษณะอื่นๆได้แก่ดีบุกที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโลหะอาจดีบุกใช้เคลือบภาชนะบรรจุอาหารใช้ เป็นส่วนประกอบของสารที่เป็นตัวเชื่อมเป็นส่วนผสมของบรอนซ์และทองเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าและใช้เป็นสารแขวนลอยในอุตสาหกรรมทำพลาสติกนอกจากนี้เรายังใช้สารประกอบดีบุกเป็นยาฆ่าแมลงฆ่าเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วยดีบุกและสารประกอบอนินทรีย์ของดีบุกที่เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหารมีอันตรายไม่มากนัก เพราะว่ามีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยมากส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาจากร่างกายหมดแต่ถ้ามีดีบุกสะสมอยู่ในร่างกายตั้งแต่ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมขึ้นไปเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 14 เดือนจะทำให้เกิดโรคท้องเดินอย่างรุนแรงกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบังคับการทำงานของกล้ามเนื้อได้จึงทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนหรือทุกส่วนของร่างกายเกิดกระตุกอยู่ตลอดเวลาสารประกอบดีบุกเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์แล้วจะเข้าไปสะสมที่ตับไตและในเลือดเป็นส่วนใหญ่จึงเป็นต้นเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนังโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางระบบหายใจและระบบทางเดินอาหารเป็นต้น

       ดีบุกเป็นโลหะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ ในอดีต ดีบุกเป็นสินค้าส่งออก ที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศได้ปีละมหาศาล แม้ว่าปัจจุบันการทำเหมืองดีบุก จะซบเซาลงไปมากแล้วก็ตาม แต่อนุสรณ์แห่งความสำคัญของโลหะชนิดนี้ ก็ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้ ดังนั้น จึงน่าที่พวกเราชาวไทย จะทำความรู้จักกับโลหะเศรษฐกิจของไทยชนิดนี้กันมากขึ้น
              ดีบุกพบในธรรมชาติในรูปของออกไซด์ ในแร่แคสซิเทอไรต์ (cassiterite) ในสภาพปกติ ดีบุกมีสมบัติเป็นโลหะ แม้ว่าในตารางธาตุ   อย่างคาร์บอนและซิลิกอนก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากทิ้งไว้ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส ดีบุกสามารถเปลี่ยนอัญรูปไปเป็นอโลหะ ที่เรียกกันว่า ดีบุกเทา (gray tin) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคาร์บอนหรือซิลิกอนได้เช่นกัน ดีบุกในรูปที่เป็นโลหะจะมีสีขาวเงิน จุดหลอมตัวต่ำ เนื้ออ่อน สามารถตีเป็นแผ่นบางได้ ดีบุกทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าเหล็ก ดังนั้นเมื่อเคลือบบนผิวเหล็ก จะช่วยป้องกันไม่ให้เหล็กขึ้นสนิมได้ อย่างไรก็ดี หากผิวดีบุกที่เคลือบอยู่ถูกเจาะทะลุจนถึงเนื้อเหล็กเมื่อใด ดีบุกจะกลายเป็นตัวเร่งให้เหล็กเกิดสนิมได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากดีบุกมีความแข็งแรงต่ำไม่สามารถนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้งานโดยตรงได้ การใช้ประโยชน์ของดีบุก จึงมักอยู่ในรูปของการนำไปเคลือบหรือผสมกับโลหะอื่น     

           

         ประโยชน์ของดีบุก ที่เรารู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ การนำมาเคลือบแผ่นเหล็ก หรือที่เรียกกันว่า เหล็กวิลาส (tinplate) ซึ่งนำมาใช้ในการทำภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากดีบุกเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ดีบุกยังเป็นส่วนผสมของโลหะผสม (alloy) หลายชนิด เช่น สำริด (bronze) ซึ่งได้จากทองแดงผสมกับดีบุก โลหะผสมระหว่างดีบุก พลวง และทองแดง ใช้ทำเป็นลูกปืน สำหรับเครื่องจักรกลหลายชนิด ดีบุกเมื่อนำมาผสมกับตะกั่วในสัดส่วนต่างๆ จะได้โลหะผสม ที่มีจุดหลอมตัวต่ำได้ตามต้องการ สำหรับนำไปใช้ในงานบัดกรีโลหะ

       ส่วนสารประกอบของดีบุก เช่น ทินออกไซด์ (SnO2) ใช้ผสมในเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิก เพื่อให้เคลือบมีความทึบแสง ซิงค์สแตนเนท (Zinc stannate) ใช้เป็นตัวเติมเพื่อช่วยลดความสามารถในการติดไฟ (flammability) ของพลาสติก สารประกอบอินทรีย์ของดีบุกใช้เป็นตัวทำให้พลาสติก PVC อยู่ตัว เหมาะกับการใช้เป็นหีบห่อ หรือวัสดุก่อสร้าง สารประกอบดีบุกบางชนิด สามารถใช้เป็น สารปกป้องแมลงกัดกินไม้ได้อีกด้วย

     แร่ดีบุกที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ แคสซิเทอไรต์ (cassiterite) ซึ่งพบและเป็นแร่เศรษฐกิจเพียงชนิดเดียวสูตรทางเคมีคือ SnO2 โดยมีส่วนประกอบของ Sn และ O ประมาณ 78.6% และ 21.4% ตามลำดับ อีกชนิดหนึ่ง คือ สแตนไนต์ (stannite) พบน้อยมากและไม่มีการผลิต คุณสมบัติทางกายภาพของ แคสซิเทอไรต์ มีดังนี้ มีรูปผลึกระบบเททราโกนาลแข็ง 6-7 ทนทานต่อการสึกกร่อนได้ดี ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 6.8-7.1 วาวอโลหะแบบเพชรหรือกึ่งโลหะ

       นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์  ได้อีกหลายอย่าง ได้แก่ ใช้ในการผลิตแก้วเนื้อทึบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ สิ่งทอ กระจกแผ่นเรียบ พลาสติก สีทาบ้าน ยากำจัดพยาธิในสัตว์ ยาสีฟัน และใช้ในการฟอกน้ำตาล เป็นต้น  ผลผลิต  การทำเหมืองแร่ดีบุกในประเทศไทยนั้นคาดว่าได้มีมาช้านานแล้ว โดยเริ่มมีการทำเหมืองผลิตแร่ดีบุกที่ภาคใต้ก่อน 

 

ดีบุก(Tin) มีคุณสมบัติเป็นโลหะ มีสีขาวเงิน

    ดีบุก มีความแข็งแรงต่ำ มีจุดหลอมเหลวต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานโดยตรงได้ เราจึงมักนำมาใช้ในรูปของการเคลือบหรือผสมกับโลหะอื่น เพราะมีความสามารถในการผสม และเกาะติดกับโลหะอื่นได้ดี
ลักษณะเด่น ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดและสารละลายต่างๆ ทนต่อการเป็นสนิม มีความเงางาม และไม่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ประโยชน์ของดีบุกที่นิยมนำไปใช้ ได้แก่

1.เคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิก เพื่อให้เคลือบมีความทึบแสง เหมาะสำหรับการเคลือบเพื่อปิดบังสีเนื้อผลิคภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ
2.เคลือบแผ่นเหล็กเพื่อผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม
3.รีดเป็นแผ่นบาง ๆ ใช้ในการห่อหุ้มสิ่งของต่าง ๆ เพื่อป้องกันความชื่นได้ดี
4.เคลือบโลหะ ด้วยคุณสมบัติที่ทนการกัดกร่อน จึงนิยมใช้เคลือบเหล็ก เพื่อป้องกันสนิม
5.การนำไปผสมกับโลหะอื่น ๆ โลหะดีบุกผสมตะกั่ว พลวง หรือสังกะสี ที่ใช้ในการผลิตโลหะบัดกรี สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ โลหะ ดีบุกผสมตะกั่วเพื่อใช้ผลิตหม้อน้ำรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

 

^