บทความที่น่าสนใจ

 

เราให้ยาทางผิวหนังได้หรือไม่?

จำนวนผู้เข้าชม: 128

        บริษัทยาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผลิตยาแผ่นใช้ปิดบนผิวหนังลักษณะคล้ายกับแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดาในแผ่นพลาสเตอร์ยาจะมี เอสตราไดออล ผู้เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุดเก็บไว้ภายใต้เยื่อพลาสติกแผ่นยางนี้ใช้สำหรับคนไข้ที่มีอาการขาดฮอร์โมนดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงสูงอายุ เอสตราไดออล ที่จะลงสู่ผิวหนังและซึมเข้าในร่างกาย  ฮอร์โมนจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงข้อดีก็คือไม่ต้องผ่านตับเหมือนเดิม เช่น ยาเม็ดที่กลืนกินเข้าสู่ร่างกายแก่ผลที่ตามมาก็คืออาจจะไม่ถูกปรับทำลายไปส่วนหนึ่งและระดับฮอร์โมนที่ร่างกายจะคงที่สม่ำเสมอ

       แผ่นยาบนผิวหนังนี้จะเป็นวิธีการให้ยาที่ละลายได้ดีในไขมันเท่านั้นเพราะต้องซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายแต่จากการวิจัยพบว่าในการใช้ สโกโพลาไมน์ ซึ่งป้องกันและการมองข้อมูลและการทดลองใช้ยาไนโตรกลีเซอรีนเพื่อรักษาอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวกเนื่องจากโรคหัวใจคนก็กดที่คนปรากฏว่าการทดลองทั้งสองกรณีประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีเหตุที่เลือกทั้งสองกรณีนี้เพราะอากาศทั้งสองจำเป็นที่จะต้องควบคุมระดับยาในเลือดให้สม่ำเสมอ

      การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (อังกฤษ: intradermal, ID) เป็นการฉีดสารต่างๆ เช่น ยา หรือวัคซีน เข้าสู่ชั้นหนังแท้ (dermis) ซึ่งอยู่ระหว่างหนังกำพร้าและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เป็นวิธีฉีดยาที่ไม่ได้ใช้แพร่หลายเท่าวิธีอื่นๆ อย่างการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เนื่องจากมีขั้นตอนการฉีดที่ยุ่งยากกว่า เป็นผลให้มีที่ใช้เฉพาะกรณีจำเป็นอย่างการฉีดวัคซีนวัณโรคหรือการทดสอบภูมิแพ้ ประโยชน์ที่สำคัญของการฉีดวิธีนี้คือ สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าในกรณีการฉีดวัคซีน การทำภูมิคุ้มกันบำบัด หรือการรักษามะเร็งบางวิธี และสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ง่ายเนื่องจากอยู่ชั้นนอกของร่างกาย

        ระบบนำส่งยาทางผิวหนังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และมีเภสัชภัณฑ์รูปแบบแผ่นแปะผิวหนังวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปแล้วแผ่นแปะผิวหนังต้องอาศัยพอลิเมอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นกาวเพื่อยึดติดแผ่นแปะกับผิวหนัง ซึ่งกาวชนิดนี้เรียกว่า กาวไวต่อแรงกด ปัจจุบันพอลิเมอร์ที่ใช้ทำกาวไวต่อแรงกด มี 3 กลุ่ม ได้แก่ อะคริเลต ซิลิโคน และพอลิไอโซบิวทิลีน แต่อย่างไรก็ตามพอลิเมอร์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ก็ยังพบปัญหาต่างๆ เช่น การไม่เข้ากันกับตัวยาสำคัญบางชนิด มีสมบัติการติดผิวหนังไม่ดี มีอัตราการนำส่งยาเข้าสู่ผิวหนังได้ต่ำ และมีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ซึ่งบางชนิดอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นอาจพัฒนากาวไวต่อแรงกดโดยการปรับปรุงโครงสร้างของกาวไวต่อแรงกดมีอยู่เพื่อให้ได้พอลิเมอร์ชนิดใหม่ และการดัดแปรทางกายภาพโดยเติมสารช่วยต่างๆ ในตำรับ ซึ่งช่วยให้ได้เภสัชภัณฑ์รูปแบบแผ่นแปะที่มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพในการรักษา

   ในปัจจุบันแผ่นแปะแก้ปวดเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในคนวัยทำงานที่ประสบปัญหาปวดเมื่อยหรือออฟฟิศซินโดรม แผ่นแปะแก้ปวดนั้นจะมีตัวยาหรือสารที่ออกฤทธิ์แก้ปวดบรรจุอยู่ในแผ่น  จากนั้นก็จะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังของเรา และอาจมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ต่อไป ซึ่งระยะเวลาในการออกฤทธิ์จะแตกต่างกันตามชนิดของผลิตภัณฑ์ โดยอาจนานถึง 8 - 10 ชั่วโมง
      ข้อดีของการใช้แผ่นแปะแก้ปวด คือ สามารถใช้ได้ง่าย พกพาสะดวก ทั้งติดตัวหรือติดโต๊ะทำงาน สามารถแปะโดยตรงที่ผิวหนัง ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน เมื่อเทียบกับยารูปแบบทาหรือสเปรย์ แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการระคายเคืองผิวหนัง เนื่องจากแผ่นแปะบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้

 

^