จำนวนผู้เข้าชม: 248
สารมลพิษหมายถึงสารใดๆที่สามารถทำให้องค์ประกอบของสภาวะแวดล้อมในธรรมชาติต้องเปลี่ยนไปส่วนใหญ่แล้วสารมลพิษทั้งหลายที่เกิดขึ้นจะเข้าสู่สิ่งแวดล้อมเช่นอากาศหรือแม่น้ำเมื่อเข้าสู่อากาศก็อาจจะตามอาจจะกลับสู่โลกใหม่ได้ในโดยตกลงมากับผลหรือหิมะแล้วเข้าสู่พื้นดินพืชและแม่น้ำลำคลองต่อไปสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ๆชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีต่างๆที่ใช้กันและสารเหล่านี้อาจจำแนกออกได้เป็นสื่อพวกใหญ่ๆคือ 1 สารเคมีที่พบในของกินของใช้ทั่วไป 2 สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม 3 สารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรเช่นยาฆ่าแมลงยาปราบวัชพืช 4 สารเคมีที่ใช้ในการทำยาหรือเครื่องสำอาง
สารมลพิษ (Pollutants) หมายถึงสารที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ อาทิ ดีดีที และสารพิษจากขบวนการอุตสาหกรรม เช่น ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท เป็นต้น สารมลพิษเหล่านี้ บางชนิดก็มีคุณสมบัติสลายตัวได้ภายในเวลาอันรวดเร็วแต่บางชนิดก็สลายตัวช้าหรือไม่สลายตัวเลยทำให้สารมลพิษสามารถมีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ ผลผลิตทางการเกษตร ห่วงโซ่อาหาร เป็นต้นโดยเฉพาะในห่วงโซ่อาหาร สารมลพิษ สามารถถ่ายทอดจากพืชซึ่งเป็นผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคขั้นที่ 1 เช่น สาหร่าย แพลงตอนจากผู้บริโภคขั้นที่ 2 เช่น ปลา กุ้ง หอย เป็นต้น และในที่สุดถ่ายทอดไปยังมนุษย์อันเป็นผู้บริโภคขั้นสูงสุด สารมลพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ ทั้ง 3 ทาง คือ ทางปาก ทางจมูก และทางผิวหนัง
สารมลพิษ
หมายถึงสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ และในอากาศ มีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ พืชและสัตว์ ถ้าแยกประเภทสารมลพิษออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
1. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจน และคลอรีน เป็นต้น
2. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์
3. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น เขม่า ควัน สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก โฟม และไฟเบอร์ เป็นต้น ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป
สภาวะที่เป็นพิษและที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
1. อากาศที่หายใจไม่บริสุทธิ์ มีเขม่า ควัน ปะปนมา ตลอดจนมีกลิ่นเหม็น และมีก๊าซที่ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์
2. น้ำท่วมไร่นา บ้านเรือน ถนน เสียหายโดยฉับพลัน
3. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูง และไหลเข้ามาปนกับน้ำจืดใน แม่น้ำลำคลองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนและพืชที่ปลูกไว้ริมน้ำ
4. ฝนเป็นกรด ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำลายดิน ทำให้ปลูกพืชไม่งอกงาม
5. โลกจะร้อนขึ้น
6. ฤดูกาลจะแปรปรวน
7. ชั้นโอโซนถูกทำลาย และไม่ช่วยกรองรังสีอันตราย ทำให้ตาเป็นต้อ และผิวหนังเป็น มะเร็ง
การเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม
1. มลพิษที่เป็นก๊าซ ของเหลว และของแข็ง จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ จากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิง จากการตัดไม้ทำลายป่า และจากการปนเปื้อนแทรกซึมของสารสังเคราะห์บางชนิดที่มนุษย์เราผลิตใช้กันมากขึ้น
2. มลพิษที่เป็นพลังงาน เช่น พลังงานความร้อนที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องมาจาก
การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ การสร้างยานพาหนะที่มีการเผาไหม้สูง หรือมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ส่วนมลพิษที่เป็นพลังงานชนิดอื่น เช่น แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ก็เกิดจากการที่มนุษย์ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไปทำลายประสาทหู ตา และประสาทสัมผัสอื่นของมนุษย์มากขึ้น