บทความที่น่าสนใจ

 

เมื่อสารเคมีไหม้จะทำอย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 347

   กรดและด่างไหม้ผิวหนังง่ายถ้าเด็กถูกกรดหรือด่างไหม้สิ่งที่ต้องทำคือล้างกรดและด่างด้วยน้ำเย็นทันทีโดยใช้น้ำเย็นมากๆถ้ามีน้ำประปาอยู่ใกล้ๆถ้ากรดกระเด็นถูกแขนก็ให้เปิดน้ำประปาล้างแขนที่ถูกกรดโดยเร็ว ถ้าลูกของคุณเล่นอะไรก็ตามแล้วก็รู้สึกแสบและเกิดอาการไหม้อย่างเช่นน้ำจากแบตเตอรี่เก่าๆก่อนที่จะรักษาอาการใหม้ก็ให้ล้างแผลด้วยน้ำเย็นก่อนเสมอกับ หลักการนี้ใช้สำหรับอุบัติเหตุการไหม้อย่างอื่นๆด้วยนั่นคือถ้าเป็นการไหม้อย่างไม่ร้ายแรง เกิดกับผิวหนังบริเวณเล็กๆก็รักษาเขาที่บ้านได้ และโดยใช้น้ำเย็นล้างแผลก่อน แล้วจึงใช้ผ้าปิดแผล แต่ถ้าเป็นการไหม้ที่ร้ายแรง ที่เกิดกับผิวหนังบริเวณกว้างก็ต้องส่งให้หมอรักษาที่โรงพยาบาล

  

สารเคมีเข้าตาเกิดขึ้นจากสาเหตุ
- อุบัติเหตุจากสารเคมีเข้าตาพบได้บ่อยเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
หรือจากโดนทำร้ายร่างกาย
- อุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น โดนสารเคมีที่ใช้ในโรงงานเข้าตา เช่น โรงงานย้อม
สีผ้า หรือ โดนน้ำแบตเตอรรี่รถยนต์เข้าตา พนักงานทำความสะอาดพื้น โดนน้ำยาล้างห้อง น้ำเข้าตา บางรายได้รับสารเคมีผงคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าตา ขณะที่ไปช่วยดับเพลิง แล้วถังคาร์บอนไดออกไซด์ระเบิด
- การโดนทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้น้ำกรดสาดหน้า แล้วโดนตาทั้งสองข้าง

    
             สารเคมีโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ กรด และด่าง โดยทั่วไป ด่าง มีความรุนแรงมากกว่ากรด กล่าวคือ สามารถทำลายเปลือกตา เยื่อบุตา ผิวนอกของกระจกตา และยังสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปทำลายลูกตา ทำลายส่วนต่างๆภายในลูกตาได้ เช่น ทำให้เกิดม่านตาอักเสบ ต้อกระจก และต้อหิน ส่วนกรด การทำลายมักจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณผิวชั้นนอกของลูกตา เปลือกตา เยื่อบุตา ผิวกระจกตา เนื่องจากคุณสมบัติของกรด เมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนแล้ว ทำให้โปรตีนแข็งตัวรวมกัน เป็นเหมือนผนังกั้นไม่ให้กรดนั้นซึมผ่านเข้าไปในลูกตาได้อีก เพราะฉะนั้น การทำลายที่เกิดขึ้นกับกรดมักจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณชั้นผิวตื้นๆเท่านั้น อันตรายของสารเคมีเข้าตา ขึ้นอยู่กับความรุนแรง หรือความเสียหายของส่วนประกอบต่างๆขอลูกตา ถ้าเป็นน้อยไม่รุนแรง สามาร๔หายเป็นปกติ ถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง และทันถ่วงที แต่ถ้ารุนแรงมากรักษายาก แม้จะรักษาเต็มที่ ก็อาจจะสูญเสียดวงตา มีภาวะแทรกซ้อนในตามากจนถึงตาบอดในที่สุด


             เมื่อสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา สิ่งที่ต้องกระทำทันที คือ การล้างตาด้วยน้ำสะอาดที่อยู่ใกล้มือที่สุด โดยตัวผู้ป่วยเองหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ถ้าหาน้ำอะไรไม่ได้ให้หาน้ำประปาล้างมากๆ ทำอยู่นาน 20 - 30 นาที ขึ้นอยู่กับสารเคมีที่เข้าตารุนแรงหรือไม่ และปริมาณสารเคมีที่เข้า การใช้น้ำล้างมากๆตั้งแต่แรก เพื่อลด หรือละลายความเข้มของสารเคมีที่เข้าตา ถือเป็นการรักษาที่สำคัญมากที่สุดและได้ผลดีที่สุด เป็นการช่วยลดความรุนแรงของสารเคมีที่จะทำลายส่วนต่างๆของตา ป้องกันไม่ให้แทรกซึมผ่านเข้าไปในลูกตา ขณะที่ล้างตา ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ ให้ใช้ไม้พันสำลีเช็ดออก และล้างน้ำมากๆ

           การล้างตาจึงจำเป็นต้องใช้น้ำสะอาดล้างทันที มากๆนานๆ ก่อนที่จะพบจักษุแพทย์ ถ้ารอพบจักษุแพทย์โดยไม่ล้างตามาก่อน สารเคมีจะซึมผ่านเข้าตา เกิดการทำลายเยื่อบุ ตากระจกตา ส่วนต่างๆของตา ทำให้เกิดความเสียหายยากต่อการรักษาแก้ไข และเมื่อมาพบ จักษุแพทย์ก็จะรีบล้างตาให้อีกครั้ง ผู้ป่วยมักจะปวดและเคืองตา จึงมักหยอดยาชาให้ก่อนแล้วใช้เครื่องมือเล็กๆถ่างเปลือกตาไว้ เพื่อให้ล้างได้สะอาด ใช้น้ำเกลือเป็นขวด ต่อสายยางจากขวดมาเปิดที่ตา ในรายที่ไม่รุนแรง จะใช้เวลาล้างตาประมาณ 30 นาที หรือใช้น้ำประมาณ 2 ลิตร ถ้ารุนแรง อาจจะต้องล้างนาน 2-4 ช.ม. หรือใช้น้ำ 8-10 ลิตร ขณะที่ล้าง แพทย์จะใช้ไม้พันสำลีเช็ดเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆออกจากตาให้หมด และตรวจค่าความเป็นกรดด่าง โดยใช้แผ่นกระดาษทดสอบเป็นระยะๆจะกระทั่งเป็นกลาง จึงหยุดล้าง และตรวจตาซ้ำอีกครั้ง โดยพลิกเปลือกตาดูให้ละเอียด ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม หรือ เนื้อเยื่อที่ตายแล้วยังติดค้างอยู่ ก็ต้องเอาออกให้หมด ตรวจความเสียหายของส่วนต่างๆในตา

^