บทความที่น่าสนใจ

 

ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรโลก

จำนวนผู้เข้าชม: 286

 การแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรโลก ของทีมงาน The Ocean Cleanup
                      บริเวณที่มีขยะพลาสติกสะสมมากที่สุดในมหาสมุทรเรียกว่า "แพขยะยักษ์แปซิฟิก" (Great Pacific garbage patch) ซึ่งอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ นี่คือจุดที่มีขยะพลาสติกจากที่ต่าง ๆ ลอยมารวมกันอยู่ปริมาณมหาศาล ตั้งแต่ตาข่ายจับปลาไปจนถึงไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำงานของ The Ocean Cleanup ใช้แนวตาข่ายรูปทรงตัว u ที่ใช้เรือลากผ่านแพขยะอย่างช้าๆ การทำงานนี้ใช้กล้องที่ควบคุมด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ในการตรวจหาขยะพลาสติกที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ แล้วช่วยทีมงานประเมินว่าต้องมุ่งเป้าทำงานในบริเวณใดของมหาสมุทร ถ้าเราทำความสะอาดในจุดที่มีขยะหนาแน่นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติการเก็บกวาดของเราก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อระบบแนวตาข่ายความยาว 800 เมตรนี้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมรุ่นที่ 2 ที่

                  The Ocean Cleanup พัฒนาขึ้น ดักจับขยะพลาสติกในจุดที่กำหนด ก็จะถูกลากขึ้นเรือเพื่อเอาขยะออกเป็นระยะ ๆ ปัจจุบันระบบนี้สามารถเก็บขยะพลาสติกในมหาสมุทรไปแล้วเกือบ 200,000 กิโลกรัม ซึ่งแม้จะมีสัดส่วนเพียง 0.2% ของขยะพลาสติกทั้งหมดบริเวณแพขยะยักษ์แปซิฟิกที่มีปริมาณถึง 100 ล้านกิโลกรัม แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี 1% ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขากำลังพัฒนาระบบรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแนวตาข่ายยักษ์ความยาว 2.4 กิโลเมตร และจะเริ่มใช้งานช่วงกลางปีนี้ The Ocean Cleanup ตั้งเป้าว่าจะนำระบบแนวตาข่ายยักษ์รุ่นใหม่นี้ออกใช้อีก 10 จุด ซึ่งจะช่วยให้เก็บขยะพลาสติกออกไปได้ 80% ภายในช่วงปลายทศวรรษนี้

               งานวิจัยในปี 2021 ของ The Ocean Cleanup บ่งชี้ว่ามีแม่น้ำราว 1,000 สายเป็นต้นกำเนิดของขยะ 80% ในมหาสมุทร แม่น้ำคือเส้นทางหลักที่นำพาขยะจากแผ่นดินลงสู่ทะเล...ดังนั้นเมื่อฝนตก ขยะพลาสติกก็จะถูกชะล้างจากถนนลงสู่ลำธาร แม่น้ำ และไหลไปอยู่ในมหาสมุทรในที่สุด ความเชี่ยวของกระแสน้ำในแม่น้ำทำให้บางครั้งการดักจับขยะพลาสติกทำได้ยาก มันจะไหลผ่านไป และถ้าคุณไม่ดักจับไว้ มันก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอย่างแน่นอน ในการทำงานบริเวณนี้ The Ocean Cleanup ใช้ "ตัวดักจับ" (Interceptor) เพื่อสกัดกั้นขยะไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล โดยใช้กล้องที่ควบคุมโดยเทคโนโลยีเอไอในการประเมินการทำงานให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความกว้าง-ลึกของแม่น้ำ ความเร็วของกระแสน้ำ และชนิดของขยะในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งขยะที่ถูกดักจับได้จะถูกนำออกจากแม่น้ำโดยสายพาน

         ปัจจุบันได่มีการดักจับขยะพลาสติกในแม่น้ำ 11 สายทั่วโลก แต่ตั้งเป้าจะขยายการทำงานในแม่น้ำ 1,000 สายที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก แม้จะเป็นแผนการที่ช่วยสร้างความหวังในการแก้ปัญหามลพิษทางทะเล แต่นักวิชาการบางคนเคยแสดงความกังขาถึงความยั่งยืนของวิธีการนี้ การใช้เรือลากตาข่ายแล้วลำเลียงขยะพลาสติกจากมหาสมุทรไปยังท่าเรือเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แทนที่จะมุ่งเก็บขยะพลาสติกในทะเลซึ่งใช้พลังงานมหาศาลและอาจสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเล เราควรที่จะสกัดไม่ให้ขยะประเภทนี้ไหลออกสู่ทะเลมากกว่า

 

 

^