บทความที่น่าสนใจ

 

Clickbait คืออะไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 286

        Clickbait เป็นคำที่ใช้เรียกในโลกออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปคนมักจะมองว่าเป็นเนื้อหาที่ไม่ดีหรือตัวเฮดไลน์ของ Clickbait สร้างความเข้าใจผิดหรือสร้างความน่าตื่นเต้นเกินจริง โดยส่วนใหญ่ Clickbait มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจในการสร้างรายได้จากการดูหน้าเว็บบนเว็บไซต์ และมีบางครั้งที่ผู้เผยแพร่โฆษณาใช้ Clickbait เพื่อเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของเพื่อให้สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาจากคลิกหรือการ conversions มากขึ้น

        ดังนั้น ภาษาของ Clickbait จึงเต็มไปด้วยการใส่อารมณ์ ใส่อีโมชั่น มากกว่าข้อเท็จจริง เช่น “คุณต้องไม่เชื่อสิ่งนี้แน่” หรือ “ลองทริกนี้ดูสิแล้วคุณจะ …” ลักษณะนี้ก็เพื่อจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นหรือสร้างอารมณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการคลิก อย่างไรก็ตาม เนื้อหาที่ตามมาไม่ค่อยให้ข้อมูลหรือตรวจสอบเท่าไหร่นัก และ Clickbait ยังปรากฏได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ บล็อกโฆษณา แบนเนอร์ หรือ บนโฆษณาแบบ SERP


         Clickbait เป็นกลยุทธ์ของเนื้อหาประเภทหนึ่ง ที่เล่นกับอารมณ์แต่ในวิธีที่แตกต่างจากการตลาดแบบกองโจรเล็กน้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกใช้ FOMO (Fear of Missing Out) ของแต่ละบุคคลออกมา Clickbait นั้นไม่ดี แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายและไม่เลวร้ายขนาดนั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะรู้ให้ลึกซึ้งถึงความแตกต่างระหว่าง Clickbait น้ำดี และไม่ดี Clickbait มักพบได้ในสื่อข่าว ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับเกม ภาพยนตร์หรือวัฒนธรรมป๊อปต่างๆ เมื่อคุณเลื่อนเข้าไปในส่วนที่มีอาจจะพบหัวข้อที่ระบุว่า “เนื้อหาที่ได้รับการสนับสนุน” Sponsored Content) หรืออะไรทำนองนี้ ดังนั้น หากเป็นลักษณะนี้ก็ค่อนข้างชัดว่าสื่อเหล่านี้ไม่ได้ถูกผลิตเอง แต่บทความนั้นเรียกได้ว่าเป็น Clickbait ที่ดี หรือมีอันตรายน้อยถึงขั้นไม่เป็นอันตรายเลย


      อย่างไรก็ตาม Clickbait ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่เป็นบทความเท่านั้น เพราะอันที่จริงแล้ว Clickbait ส่วนใหญ่มาจากการสร้างรายได้จากโฆษณาออนไลน์ เพื่อดึงดูดความสนใจหากได้รับการคลิกเข้าไปชมเว็บไซต์วิดีโอ เช่น Youtube Clickbait ที่เป็นพวกบทความ สังเกตง่ายๆ ก็คือพวกที่เป็นบทความประเภทที่อ้างว่าจะให้เงินกับคุณ หรือล่อลวงให้คุณดาวน์โหลดต่างๆ ซึ่งถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะไม่เป็นอันตรายหรือถูกกฎหมายก็ตาม แต่ก็เสี่ยงที่คุณอาจจะติดมัลแวร์ หรือตกเป็นเหยื่อจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลที่เรียกว่า Phishing ได้ ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะลองเสี่ยงเลย

^