บทความที่น่าสนใจ

 

เทศกาลคริสต์มาสใกล้แล้ว

จำนวนผู้เข้าชม: 549

 

คริสต์มาส  หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์" หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ   จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู  เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ  และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ สิบสองวัน  คริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด 

   

วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7  ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย มีทฤษฎีอธิบายว่า เหตุผลที่เลือกวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฉลองคริสตสมภพนั้นเพราะเป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนสมัยแรกเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร หรือตรงกับวันเหมายันของโรมัน หรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสต์ศาสนิกชน 

  

 คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์มีเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์มีเนียซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันคลาดเคลื่อนกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมที่ประชากรโลกส่วนใหญ่เฉลิมฉลอง ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคมแทน ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม

 

ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเอง  เพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก

 

 วันคริสต์มาสเป็นเทศกาลหลักและวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสต์ศาสนิกชน ในบางประเทศที่มิใช่คริสต์ ประเทศเหล่านี้รับคริสต์มาสเข้ามาระหว่างถูกปกครองเป็นอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มน้อยหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสเป็นที่นิยมแม้มีคริสตศาสนิกชนน้อย ก็ได้รับเอาคริสต์มาสส่วนที่เป็นฆราวาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การประดับตกแต่ง และต้นคริสต์มาส ประเทศที่คริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบแตกต่างกันชัดเจนมาก  

 

ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีแบบคริสต์มั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสอันหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสต์ศาสนิกชน การเข้าร่วมศาสนพิธีถือเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น มีการจัดการเดินขบวนฆราวาสหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและบุคคลสัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ที่มักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การรวมญาติและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของเทศกาลอย่างกว้างขวาง ประเทศส่วนใหญ่มีประเพณีการให้ของขวัญ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ที่ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ที่ตรงกับวันที่ 6 มกราคม 

 

นักเขียนคริสต์ศาสนิกชนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้องเป็นเวลาหลายศตวรรษ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมเทศนาในแอนติออกเมื่อประมาณ ค.ศ. 386 ซึ่งสถาปนาวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมตามปฏิทินจูเลียนเพราะการตั้งครรภ์พระเยซู ได้รับการประกาศระหว่างเดือนที่หกของการตั้งครรภ์ของเอลิซาเบธกับนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา  ดังที่บันทึกไว้จากพันธกิจซึ่งซาคาริยาส์กระทำในวันทดแทนบาป (Day of Atonement) ระหว่างเดือนที่เจ็ดของปฏิทินฮีบรู เอธานิมหรือตีซรี  ซึ่งตกอยู่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม 

 

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการเริ่มเสนอคำอธิบายอื่นแทน ไอแซก นิวตันแย้งว่า คริสต์มาสถูกเลือกให้ตรงกับเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม ใน ค.ศ. 1743 คริสเตียนชาวเยอรมัน พอล แอร์นสท์ จาบลอนสกี ให้เหตุผลว่า คริสต์มาสจัดตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อให้ตรงกับวันหยุดทางสุริยคติของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นเพเกินซึ่งลดคุณค่าศาสนจักรที่แท้จริง ใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชนเสนอว่าวันที่คริสต์มาสนั้นคำนวณมาจากเก้าเดือนหลังฉลองแม่พระรับสาร  ซึ่งวันนั้นตั้งอยู่บนความเชื่อแต่โบราณว่าพระองค์ทรงมาตั้งครรภ์และถูกตรึงบนไม้กางเขนในวันเดียวกัน คือ วันที่ 15 เดือนนิสาน 

 

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ไม่ว่าวันประสูติของพระเยซูจะตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมหรือไม่นั้น ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญในศาสนาคริสต์กระแสหลัก  แต่การเน้นการเฉลิมฉลองการที่พระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เพื่อไถ่บาปแก่มนุษยชาติถือว่าเป็นความหมายหลักของคริสต์มาส คริสต์ศาสนิกชนเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูผ่านทางนางมารีย์สาวพรหมจารีว่าเป็นการบรรลุคำทำนายพระเมสสิยาห์ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม  โดยคัมภีร์ไบเบิลได้บันทึกเรื่องราวซึ่งอธิบายเหตุการณ์การประสูติของพระเยซู แตกต่างกันเป็นสองเวอร์ชันตามมุมมองของผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน โดยพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว และพระวรสารนักบุญลูกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ตามบันทึกเหล่านี้ พระเยซูประสูติแต่นางมารีย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโยเซฟ สามีของเธอ ในเมืองเบธเลเฮม

 

ตามความเชื่อที่ได้รับความนิยม การประสูติมีขึ้นในคอกม้า ล้อมรอบด้วยสัตว์ในไร่นา แม้ทั้งคอกม้าหรือสัตว์ต่าง ๆ   อย่างไรก็ดี มีการกล่าวถึงรางหญ้าในลูกา 2:7 ซึ่งเขียนไว้ว่า มารีย์ "เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างให้เขาในโรงแรม" การแทนการประสูติของพระเยซูทางประติมาวิทยาช่วงแรกได้วางสัตว์และรางหญ้าไว้ในถ้ำ (ซึ่งตามความเชื่อตั้งอยู่ใต้คริสตจักรการประสูติในเบธเลเฮม) มากกว่าคอกม้า คนเลี้ยงแกะในทุ่งหญ้าใกล้กับเบธเลเฮมได้รับการบอกเล่าถึงการประสูติโดยทูตสวรรค์ และเป็นคนกลุ่มแรกที่มาพบพระกุมารเยซู  ตามความเชื่อที่ได้รับความนิยมยังมีว่า กษัตริย์สามพระองค์หรือนักปราชญ์สามคน คือ เมลชอร์ แคสปาร์ และบัลธาซาร์ ได้เดินทางมาเยี่ยมพระกุมารเยซูในรางหญ้า แม้ความเชื่อนี้จะไม่ตรงตามคัมภีร์ไบเบิลอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ในพระวรสารนักบุญมัทธิวเล่าว่า มีผู้วิเศษหรือโหราจารย์มาพบโดยไม่ระบุจำนวน หลังจากที่พระเยซูประสูติแล้ว ขณะที่ครอบครัวอาศัยอยู่ในเรือน  และได้ถวายของขวัญเป็นทองคำ, กำยานและมดยอบแก่พระกุมารเยซู แขกผู้มาเยือนนั้นได้รับทราบจากดาวประหลาด ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อ ดาวแห่งเบธเลเฮม เชื่อกันว่าดาวนี้ประกาศการประสูติของกษัตริย์แห่งยิว พิธีฉลองการมาเยือนนี้ งานสมโภชการเสด็จมาของพระเยซู เฉลิมฉลองในวันที่ 6 มกราคม และเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลคริสต์มาสในบางคริสตจักร

 

คริสต์ศาสนิกชนเฉลิมฉลองคริสต์มาสในหลายวิธี นอกเหนือไปจากวันนี้จะเป็นหนึ่งในวันทีสำคัญที่สุดและนิยมที่สุดในการเข้าร่วมพิธีในโบสถ์, การอุทิศตนและประเพณีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมอีก ในศาสนาคริสต์บางนิกาย เด็ก ๆ จะแสดงละครเหตุการณ์การประสูติของพระเยซูโดยมีสัตว์ร่วมแสดงด้วยเพื่อความสมจริง  คริสต์ศาสนิกชนบางคนยังสร้างฉากเหตุการณ์การประสูติในบ้านของพวกเขาด้วย โดยใช้ตุ๊กตาขนาดเล็กประดับเป็นตัวละครหลักในเหตุการณ์ ก่อนวันคริสต์มาส คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะมีการจัดเทศกาลถือศีลอดพระคริสตสมภพ  40 วันล่วงหน้าการประสูติของพระเยซู ขณะที่ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่เฉลิมฉลองเทศกาลเตรียมการรับเสด็จสี่สัปดาห์ สำหรับการฉลองวันคริสต์มาสจะกระทำในคือนวันก่อนวันคริสต์มาส หรือที่เรียกว่าวันคริสต์มาสอีฟ

 

ประเพณีเกี่ยวกับศิลปะอันยาวนานได้พัฒนาขึ้นเป็นการผลิตการวาดภาพเขียนสีการประสูติในศิลปะ ฉากการประสูตินั้นแต่เดิมจัดในคอกม้าพร้อมปศุสัตว์ และมีมารีย์ โยเซฟ และพระกุมารเยซูในรางหญ้า นักปราชญ์สามคน คนเลี้ยงแกะกับแกะของพวกเขา ทูตสวรรค์และดาวแห่งเบธเลเฮม 


ประเพณีการประดับตกแต่งเป็นพิเศษในวันคริสต์มาสนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีบันทึกว่าในกรุงลอนดอน การประดับตกแต่งเป็นประเพณีในวันคริสต์มาสสำหรับทุกบ้าน และทุกโบสถ์ประจำเขตแพริชต้อง "ตกแต่งด้วยโอ๊กโฮล์ม ไอวี เบย์ลอเรลและอะไรก็ตามที่ฤดูกาลนี้ในช่วงปีให้เพื่อเป็นสีเขียว" ใบไอวีรูปหัวใจกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์การเสด็จมายังโลกมนุษย์ของพระเยซู ขณะที่ฮอลลีถูกมองว่าเป็นการคุ้มครองจากพวกเพเกินและแม่มด หนามของมันและผลเบอร์รีสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์มงกุฎหนามซึ่งพระเยซูทรงสวมที่การตรึงกางเขนและพระโลหิตที่พระองค์ทรงหลั่ง 

 

ฉากการสมภพเป็นที่ทราบกันจากกรุงโรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีทำให้เป็นที่นิยมนับแต่ ค.ศ. 1223 ของประดับตกแต่งหลายประเภทได้พัฒนาขึ้นทั่วโลกคริสต์ศาสนิกชน ขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่นและทรัพยากรที่หาได้ ของประดับที่ผลิตขึ้นเชิงพาณิชย์ครั้งแรกปรากฏในเยอรมนีในคริสต์ทศวรรษ 1860 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากโซ่กระดาษที่เด็กทำ  ผู้คนต่างได้รับการสนับสนุนให้ประกวดและสร้างฉากที่เหมือนดั้งเดิมหรือเหมือนจริงที่สุด ในบางครอบครัว แม่พิมพ์ที่ใช้ทำฉากนั้นถูกมองว่าเป็นมรดกมีค่าประจำตระกูลสีของคริสต์มาสแต่โบราณ คือ เขียวและแดง ส่วนสีขาว เงินและทองก็ได้รับความนิยมเช่นกัน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งทรงหลั่งในการถูกตรึงบนกางเขน สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตนิรันดร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ไม่ผลัดใบ ซึ่งไม่เสียใบในฤดูหนาว 

ต้นคริสต์มาสแบบเดนมาร์ก ประดับด้วยของตกแต่งคริสต์มาสทำเอง

 

ต้นคริสต์มาสถูกมองว่าเป็นการทำให้ประเพณีและพิธีกรรมเพเกินรอบเหมายันเป็นคริสเตียน ซึ่งรวมถึงการใช้กิ่งไม้ไม่ผลัดใบและการดัดแปลงการบูชาต้นไม้ของเพเกิน  ตามข้อมูลของนักชีวประวัติสมัยคริสต์ศตวรรษที่แปด เอดดี สเตฟานัส นักบุญโบนิฟาส (ค.ศ. 634-709) ผู้เป็นมิชชันนารีในเยอรมนี หยิบขวานไปยังต้นโอ๊กที่อุทิศให้ธอร์และชี้ไปยังต้นเฟอร์ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นวัตถุควรแก่การเคารพที่เหมาะสมกว่า  ซึ่งเขาว่าเป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ  วลีภาษาอังกฤษ "ต้นคริสต์มาส" ได้รับบันทึกครั้งแรกใน ค.ศ. 1835 และแสดงให้เห็นการรับมาจากภาษาเยอรมัน ประเพณีต้นคริสต์มาสสมัยใหม่เชื่อกันว่าเริ่มต้นในเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่   แม้หลายคนแย้งว่า มาร์ติน 

 

ประเพณีต้นคริสต์มาสนำเข้าสู่อังกฤษจากเยอรมนีครั้งแรกผ่านพระนางชาร์ล็อตต์ พระมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 3 จากนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงนำเข้ามาอีกครั้งในรัชสมัยพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ซึ่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จมากกว่า จนถึง ค.ศ. 1841 ต้นคริสต์มาสได้แพร่หลายในอังกฤษมากยิ่งขึ้น จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1870 ผู้คนในสหรัฐอเมริกาได้รับเอาประเพณีการตกแต่งต้นคริสต์มาส ต้นคริสต์มาสอาจตกแต่งด้วยแสงไฟและเครื่องตกแต่ง นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 พอยเซตเทีย พืชท้องถิ่นจากเม็กซิโก ได้มาเกี่ยวข้องกับคริสต์มาส พืชประจำเทศกาลที่ได้รับความนิยมอื่นอีกมีฮอลลี มิสเซลโท พืชจำพวกว่าน   สีแดง และกระบองเพชรคริสต์มาส ร่วมกับต้นคริสต์มาส ภายในบ้านอาจประดับตกแต่งด้วยพืชเหล่านี้ เช่นเดียวกับพวงมาลัยและใบพืชไม่ผลัดใบ การแสดงหมู่บ้านคริสต์มาสได้กลายมาเป็นประเพณีในหลายบ้านช่วงเทศกาลนี้ ของนอกบ้านอาจประดับตกแต่งด้วยแสงไฟ และบางครั้งด้วยเลื่อนหิมะประดับไฟ มนุษย์หิมะและสัญลักษณ์คริสต์มาสอื่น ๆ

 

^