จำนวนผู้เข้าชม: 209
ละมุด มีชื่อสามัญเรียกว่า “Sapodilla” และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Achras Zapota Linn อยู่ในวงศ์ Sapotaceae ละมุดเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน กลิ่นหอม อร่อย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ละมุดเป็นผลไม้ที่โตเร็วให้ผลเร็ว และให้ผลตลอดทั้งปี เป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ทั้ง ดินทราย ดินเหนียวหรือดินลูกรังก็ตาม เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลแน่นอน ทั้งการปฏิบัติบำรุงรักษา ก็ไม่ลำบากเหมือนกับผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ลางสาด ส้มต่างๆ ฯลฯ ละมุดยิ่งแก่จะให้ผลดกมากยิ่งขึ้น ละมุดในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
ละมุดไทย หรือเรียกว่า ละมุดสีดา และ ละมุดฝรั่ง
1. ละมุดไทยหรือละมุดสีดา เป็นพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว เป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มไม่ทึบ และใบมีลักษณะโคนเรียว ปลายใบมน ท้องใบมีสีขาวเหลือบ มีผลเล็ก ผลมีสีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นมัน ลักษณะผลคล้ายๆ กับมะเขือเทศสีดา ในปัจจุบันนี้ ไม่ใคร่มีใครนิยมปลูกกันมากนัก จึงไม่ค่อยมีจำหน่ายในท้องตลาด
2. ละมุดฝรั่ง คำว่าละมุดฝรั่งนี้ส่วนมากมักจะไม่ค่อยได้ยินหรือเรียกกัน จะได้ยินกันก็แต่ว่า “ละมุด” เฉยๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วละมุดมีชื่อเรียกเต็มว่า “ละมุดฝรั่ง” ละมุดหรือละมุดฝรั่ง จึงเป็นผลไม้อย่างเดียวกัน ละมุดฝรั่งนี้เป็นละมุดที่นิยมปลูกกันมาก เพราะเป็นพืชที่นิยมบริโภคชนิดหนึ่ง เท่าที่ทราบและมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 6 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ พันธุ์ล่าลี พันธุ์สาลี่ พันธุ์ฝาชี พันธุ์กระสวย พันธุ์ไข่ห่าน และพันธุ์มะกอก ส่วนพันธุ์กระสวยนั้นมีรสและคุณภาพเหมือนพันธุ์มะกอก ผิดกันแต่ลักษณะของผลละมุดกระสวยนั้นหัวและท้ายของผลเรียวเท่านั้น แต่การติดผลของพันธุ์กระสวยนั้นติดผลห่าง ถ้าจะปลูกละมุดพันธุ์กระสวยจะได้ผลไม่คุ้ม จึงทำให้นิยมปลูกกันน้อย
ชนิดของพันธุ์
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ละมุดมีประมาณ 6 พันธุ์ด้วยกัน และเท่าที่นิยมปลูกกันทั่วๆ ไป ก็มีอยู่เพียง 2 พันธุ์เท่านั้น คือ
1. ละมุดพันธุ์ไข่ห่าน มีลักษณะใบยาวรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวอ่อน ลักษณะและขนาดของผลใกล้เคียงกับไข่ห่าน เปลือกบาง เวลาสุกเนื้อค่อนข้างหยาบไม่แข็งกรอบ เนื้อสีน้ำตาลอ่อน รสหวานเย็น เป็นพันธุ์ที่ให้ผลไม่ดก
2. ละมุดพันธุ์มะกอก มีลักษณะยาวรี มีใบแคบกว่าพันธุ์ไข่ห่าน หลังใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ผลเมื่อเล็กมีลักษณะกลม ต่อมาจึงค่อยๆ ยาวขึ้นเหมือนผลมะกอก เมื่อแก่จัดผิวของผลจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีน้ำตาลอมแดง เนื้อในแข็งกรอบ รสหวานแหลม ละมุดพันธุ์นี้มีผู้นิยมปลูกกันมาก เพราะนอกจากเนื้อกรอบหวานรสดีแล้ว ยังให้ผลดกอีกด้วย ในต่างประเทศมีละมุดหลายพันธุ์มากกว่าของประเทศไทยเรา ทั้งนี้เพราะสาเหตุจากการปลูกด้วยเมล็ดมักจะกลายพันธุ์ จึงทำให้มีลักษณะแตกต่างไปจากพันธุ์เดิม
วิธีการปลูกละมุด
ปลูกกิ่งตอนหรือต้นกล้าและกลบดินให้แน่น รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหรือโดโลไมต์ จะทำให้ต้นละมุดเจริญเติบโตได้ดี ปักหลักผูกติด กับต้นกันลมพัดโยก รดน้ำพอชุ่ม ถ้าต้องการให้อัตรา การตายต่ำควรปลูกในต้นฤดูฝน ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป ครบ 3 ปี กิ่งตอนเริ่มให้ผลผลิต และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนธันวาคม จนถึงเดือนมกราคม อายุ 3 ปี ให้ผล 100-200 ผลต่อต้น หลังเก็บเกี่ยวผลแล้วควรตัดแต่งกิ่งที่แห้งและเป็นโรค เผาทำลายทิ้ง ให้ มีเฮ น้ำหมักชีวภาพ ในกรณีฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ10-15วัน ให้ใช้อัตราผสม มีเฮ 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดใบ ลำต้น หรือลงดิน ให้ชุ่ม (ถังฉีดพ่น 20 ลิตร ผสมมีเฮ 20ซีซี น้ำ 20 ลิตร) ถ้าไม่สะดวกสามารถราดโคนได้โดยผสม มีเฮ น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร ราดโคนต้นละ 30ซีซี ทุกๆ 10-15 วัน หากฝนไม่ตกต้องรดน้ำตามทันที เพราะใช้ มีเฮ พืชจำเป็นต้องได้น้ำไม่ขาด ปีที่ 4-6 จะให้ 300-500 ผลต่อต้น และปีที่ 7-10 ให้ผล 600-900 ผลต่อต้น
ราคาจำหน่ายของละมุดนั้นตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 - 60 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและช่วงฤดูกาล จะเห็นได้ว่าสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยเลย ละมุดอาจจะเป็นพืชที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนักจากเกษตรกร แต่เป็นพืชที่มีโรคน้อย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังออกผลทั้งปี จึงนับได้ว่าเป็นอีกพืชอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรจะนำไปปลูกเพื่อสร้างรายได้ โดยอิงหลักวิถีเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีที่ยั่งยืน
ลิ้งวิดีโอ youtu.be/6lP4d9hkRbI