จำนวนผู้เข้าชม: 246
แน่นอนว่าส่วนผสมของอาหารนั้น เป็นปัจจัยหลักในการรับประทานอาหาร เพื่อไปเสริมสร้างต่อร่างกาย ซึ่ง “โซเดียม” ก็เป็นอีกสารหนึ่งที่ถือว่าเป็นตัวหลักในอาหารเกือบทุกชนิดที่รับประทานไปในแต่ละวัน แต่ในขณะเดียวกัน หากรับประทานสารอาหารตัวนี้ที่มากเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อร่างกาย แต่ในปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มการบริโภคโซเดียมมากเกินไปในชีวิตประจำวัน อาจมาจากความชอบกินอาหารเค็ม ติดรสเค็ม หรือจากความไม่รู้ส่วนประกอบของปริมาณโซเดียมในอาหารประเภทนั้น ๆ จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง
“โซเดียม” คืออะไร
‘โซเดียม’ คือเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งสามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ในไตและลำไส้เล็ก
โซเดียม (อังกฤษ: Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์)
โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับโซเดียมทำให้เกิดเปลวไฟและมันยังทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำจนเกิดการระเบิดได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมันเพื่อให้ไม่เกิดอุบัติเหต
โดยแหล่งที่พบโซเดียมตามธรรมชาติ ได้แก่ เกลือ สัตว์น้ำมีเปลือก (กุ้ง ปู) สมอง ไต เนื้อตากแห้ง เบคอน แคร์รอต หัวบีต อาร์ทิโชก เป็นต้น ส่วนในรูปแบบอื่น ๆ จะพบได้ในรูปแบบของเกลือแกง อาหารสำเร็จรูป วัตถุปรุงรส ตลอดจนถึงขนมกรุบกรอบที่ใส่ผงฟูทุกชนิด
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว 1,500 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่ในชีวิตประจำวันของเราอาจจะมีการบริโภคโซเดียมที่มากกว่านั้น โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่บริโภคแล้วไม่อันตราย คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเกลือประมาณ 1 ช้อนชา
การใช้ประโยชน์
ใช้ประโยชน์ในด้านสมบัติทางกายภาพ
ด้านสมบัติทางกายภาพของโซเดียมเป็น โลหะตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี โลหะบางชนิดนำความร้อนได้ดีกว่า Na ได้แก่ เงิน ทอง อะลูมินัม และทองคำ เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchange medium) เป็นตัวหล่อเย็นในปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ใช้ประโยชน์ในด้านสมบัติทางเคมี
ใช้เตรียมสารเคมีของโซเดียม เช่น เตรียมโซเดียมเปอร์ออกไซด์ (Na2O2) เป็นตัวฟอกสี โซเดียมไฮไดรด์ (NaH) เตรียมเตตระเมทิลเลด [(CH3)4Pb], เตตระเอทิลเลด [(C2H5)4Pb] เพื่อใช้เติมใส่แก๊สโซลีนเพื่อเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันแก๊สโซลีน ใช้เป็นตัวรีดิวซ์และเป็นตัวเร่งในปฏิกิริยา ใช้ในเตรียมสารอินทรีย์ของโซเดียม
ความเป็นพิษ
-โซเดียมไอออน (Na+)
-โซเดียมที่อยู่ในรูปของธาตุอิสระ มีพิษอย่างแรง กัดเนื้อเยื่อทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นแดง
-โซเดียมทำปฏิกิริยาน้ำและออกซิเจนในอากาศอย่างรุนแรง ติดไฟง่ายและให้สารละลาย
-โลหะโซเดียมต้องเก็บรักษาในตัวกลางเฉื่อย เช่น ในน้ำมันเคโซซิน การใช้โลหะต้องใช้ความระมัดระวังสูง
-โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว กับน้ำให้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และแก๊สไฮโดรเจน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
วิธีห่างไกลจาก โซเดียม
1. หลีกเลี่ยงผงชูรสและผงปรุงรส เพราะถึงแม้จะมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือ แต่ผงชูรสไม่มีรสชาติเค็มเหมือนเกลือ จึงทำให้คนปรุงอาหารกระหน่ำใส่ลงไปโดยไม่ยั้งมือ เพราะเชื่อว่าจะช่วยชูรสอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุให้ได้รับปริมาณโซเดียมที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
2. ลดความจัดจ้านของรสชาติอาหารในแต่ละรส เพราะอาหารยิ่งมีรสจัด ยิ่งต้องใส่เครื่องปรุงรสเค็มและผงชูรสมากขึ้นเพื่อให้อาหารครบรส ซึ่งหากชอบกินอาหารรสจัด ควรค่อย ๆ ลดความจัดลง หรือกินอาหารรสจัดสลับกันไป
3. รับประทานอาหารสด หลีกเลี่ยงอาหารที่เก็บไว้นาน เพราะมีโอกาสได้รับโซเดียมเพิ่มโดยไม่จำเป็นจากสารกันบูด
4. หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน
5. สังเกตปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการ และแบ่งกินให้พอเหมาะ เพราะการรู้จักสังเกตฉลากนอกจากจะทำให้รู้ว่าเราได้รับพลังงานจากอาหารมากน้อยเพียงใด ยังบอกถึงปริมาณโซเดียมที่ได้รับอีกด้วย ซึ่งอาหารมื้อหลักไม่ควรให้โซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วน อาหารว่างไม่ควรมีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน
6. ใช้เกลือทดแทนในการปรุงอาหารได้ แต่ก็อย่าวางใจปลอดโซเดียม เพราะเกลือทดแทนยังมีโซเดียมอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นให้ใส่แต่พอประมาณ
ลิ้งวิดีโอ youtu.be/lo7msVwcKMw