บทความที่น่าสนใจ

 

ทุบใจ ผู้สูงอายุอย่างแรง กับ เกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ 11 ส.ค. 66

จำนวนผู้เข้าชม: 131

 

‘รัฐบาลรักษาการ’ ปรับเปลี่ยนเกณฑ์ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 ส.ค. 66 

เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยระเบียบดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีการปรับปรุงดังต่อไปนี้

 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับใหม่ มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุอย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยประกาศ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับใหม่ ที่ปรับปรุงว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีการปรับปรุงดังต่อไปนี้

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566

 

มีสัญชาติไทย

มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

ขั้นตอนการยืนยันสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566

บุคคลที่มีอายุครบ 60  และให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำนวยความสะดวกโดยการแจ้งไปยังผู้สูงอายุที่มีสิทธิ หากผู้สูงอายุมีประสงค์ที่จะรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้แนบเอกสารข้อมูลเพื่อยืนยันสิทธิของตนเองไปยังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

             สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ประสงค์ร้องขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร

ในกรณีมีความจำเป็นที่ผู้สูงอายุไม่สามารถแจ้งความประสงค์การรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองได้ตามวรรคหนึ่ง อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้บุคคลอื่นเป็นผู้ไปแจ้งความประสงค์การรับเงินเบี้ยยังชีพแทนผู้สูงอายุก็ได้

 

สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

 

  • ตาย

  • ขาดคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ข้างต้น

  • แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนสั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสำหรับบุคคลดังกล่าว

  • หากผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยความสุจริตให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนรายงานผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป โดยยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

  • รวมทั้งมีบทเฉพาะกาล ข้อ 17 ระบุว่าบรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป 

  • การดำเนินการใดที่ดำเนินอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระเบียบฉบับนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยระเบียบนี้แล้ว

  • สำหรับการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ภาครัฐจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งถ้าวันที่ 10 ของเดือนนั้นๆ หากตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายให้ในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น และเป็นการจ่ายรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้

  • ผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท

  • ผู้สูงอายุ อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท

  • ผู้สูงอายุ อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท

  • ผู้สูงอายุ อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

^