บทความที่น่าสนใจ

 

โค้งอันตราย (sharp curve)

จำนวนผู้เข้าชม: 170

 โค้งอันตราย  แต่ถ้าไม่โค้งก็จะอันตรายยิ่งกว่าแน่นอน ก็เลยต้องโค้ง  คำว่า "โค้งอันตราย" ไม่ได้หมายความว่า ถ้า ถึงจุดที่ต้องโค้งพอโค้งแล้วอันตราย ความหมายคือ เป็นโค้งที่อันตราย ถ้าหากทำการโค้งโดยไม่ระมัดระวัง เป็นการเตือนให้ทราบล่วงหน้าว่า จุดโค้งจุดนั้นอัตราย นั้นเอง 

 

ทางโค้งก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขุึ้นบ่อยครั้ง

 

ถนนทางราบ หรือ ถนนธรรมดา ที่อยู่ภายในเมืองหรือทางหลวงวิ่งไป กลับกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด ซึ่งบางที่มีทางคดเคี้ยวเหมือนเถ้าวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด แฮ่! สาเหตุที่ต้องออกแบบให้ถนนโค้งนั้นคือ
1.เพื่อหลบหลีกสภาพพื้นดินที่ไม่สามารถรับน้ำหนักของรถที่วิ่งไปมา หรือจอดติดยาวเป็นกิโลฯ ได้ในบางพื้นที่
2.เพื่อหลบหลีกสิ่งก่อสร้างที่สร้างก่อนตัดถนน (ทำไมไม่ตัดถนนก่อนสร้างกันนะ อันนี้ไม่เข้าใจเหมือนกัน Orz)
3.เพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างใช้ถนน เนื่องจากถนนที่เป็นเส้นตรง หากมีความยาวมาก ๆ จะทำให้ผู้ขับขี่เกิดอาการเพลินจนง่วง และอาจนำมาให้เกิดอุบัติเหตุได้
4.เพื่อเป็นการลดความเร็วในการขับขี่ในบางช่วง เพื่อลดอุบัติเหตุ

ถนนทางดิ่ง สามารถพบได้ในทางขึ้นเขาขึ้นดอย หรือทางขึ้นสะพาน ที่มีความชัน (ชันมากหรือน้อยแล้วแต่ดอยที่จะไป) บางดอยก็โค้งซะเสียวไส้เลยทีเดียว ส่วนสาเหตุที่ทางขึ้นดอยต้องโค้งก็คือ
1. หลีกเลี่ยงสภาพพื้นดินที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรับน้ำหนักรถวิ่ง หรือบางที่มีเหวลึกทำให้ไม่สามารถก่อสร้างถนนได้
2.เนื่องจากทางขึ้นเขามีความชันมาก การมีทางโค้งก็จะช่วยให้รถขึ้นเขามีความง่ายขึ้น (ตามหลักวิศวกรรม )
3. ความชันมาก อาจทำให้รถไหลตกเขาได้ จึงต้องมีทางโค้งชะลอความเร็ว
4.ถ้าเกิดตัดถนนตรง ๆ ในทางลงเขา ผู้ขับขี่บางท่านอาจจะเพลินจนลืมเหยียบเบรกและพุ่งตกเขาไปได้ จึงต้องมีทางโค้งเพื่อเตือนสติ

การเคลื่อนในทางโค้ง

ในชีวิตประจำวันเราคงคุ้นเคยการการนั่งรถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถประจำทาง หรือรถจักรายานยนต์ ในขณะที่รถวิ่งไปบนท้องถนนที่เป็นทางโค้ง ผู้ขับจะต้องลดความเร็วลงเพื่อให้เข้าโค้งได้อย่างปลอดภัย หรืออาจสังเกตเห็นว่า รถจักรยานยนต์บางคันต้องเอียงทำมุมกับถนนราบในขณะที่เข้าโค้ง หรือเราอาจสังเกตเห็นบริเวณทางโค้งพื้นถนนจะยกตัวให้ลาดเอียง ทั้งนี้ เนื่องจากรถวิ่งบนท้างโค้งเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลม จึงมีแรงสู่ศูนย์กลางมากระทำต่อรถ นั่นเอง ดังนั้นในบทเรียนนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่บนทางโค้ง และการขับขี่ที่ปลอดภัยบนทางโค้ง

รถวิ่งบนทางโค้งราบ

ขณะรถเลี้ยวโค้ง บนถนนโค้งราบ ซึ่งมีแนวทางการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ดังรูป
ขณะที่รถวิ่งบนทางโค้งซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลม ดังนั้นต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางกระทำต่อรถ เมื่อพิจารณาแรงที่กระทำต่อรถ พบว่า ขณะที่รถเลี้ยวโค้งรถจะพยายามไถลออกจากโค้ง จึงมีแรงเสียดทาน ที่พื้นกระทำต่อล้อรถในทิศทางพุ่งเข้าในแนวผ่านจุดศูนย์กลางความโค้ง ดังนั้น แรงเสียดทานที่พื้นกระทำต่อล้อรถคือแรงสู่ศูนย์กลาง

แรงเสียดทาน = แรงสู่ศูนย์กลาง

 

 

 

 

 

 

 

การเคลื่อนที่บนถนนโค้ง

 

 

ในกรณีที่รถเลี้ยวโค้ง แรงเสียดทานที่พื้นถนนกระทำกับด้านข้างของยางรถจะเป็นแรงสู่ศูนย์
กลาง ที่ทำให้รถยนต์เลี้ยวโค้งได้ และเนื่องจากแรงเสียดทานมีค่าจำกัดขึ้นกับสภาพถนน และยางรถ ดังนั้นแรงสู่ศูนย์กลางจึงมีค่าจำกัดด้วย   หากถนนมีความโค้งขนาดหนึ่งอัตราเร็วที่รถวิ่งขณะเลี้ยวโค้งต้องไม่เกินกว่าแรงเสียดทานทิศสู่ศูนย์กลาง  หากอัตราเร็วเกินก็จะทำให้รถไถลออกนอกโค้งเกิดอันตรายได้

การเลี้ยวโค้งจะง่ายและปลอดภัยขึ้นหากพื้นถนนถูกยกให้ ขอบถนนด้านนอกสูงกว่าขอบด้านใน ดังรูป

2013-01-17_193437

 

 

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าตามหลักวิชาการ หรือเหตุผล ทางฟิสิกส์ วิศวกรรม กับโลกแห่งความเป็นจริง อาจมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น สภาพถนน สภาพอากาศ สภาพการจราจร สภาพยานพาหนะ สภาพผู้ขับขี่ สภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น ดังนั้น ควรตั้งอยุ๋บนความไม่ประมาท เมือเวลาอยู่บนท้องถนน โดยเฉพาะจุดเสี่ยง จุดอับ จุดอัตราย ต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโค้ง ให้ระมัดระวังในการขับขี่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ทั้งตัวเราเอง และผู้ร่วมทาง ผู้ใช้รถ ใช้ถนนคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

 

 ลิ้งวิดีโอ youtu.be/x6MyJwgBtrE

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

^