บทความที่น่าสนใจ

 

ภัยเงียบของการนอนมากเกินไป

จำนวนผู้เข้าชม: 169

 ารพักผ่อน ที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ก็คือ การนอนหลับนั่นเอง เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง และตามหลักแล้วก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่หากเรานอนมากเกินไป ร่างกายของเราจะส่งผลเสีย นอนมากเกินไป เสี่ยงโรค?

 

เชื่อหรือไม่ว่าหากเรานอนมากเกินไป เสี่ยงโรคอยู่ชนิดหนึ่งที่มีชื่อตรงๆ ว่า โรคนอนเกิน (Hypersomnia) โรคนอนเกินก็คือโรคที่มาจากพฤติกรรมในการนอนหลับที่เกินพอดี โดยมักเกิดขึ้นกับคนที่มีพฤติกรรมขี้เซา นอนมากเท่าไรก็ยังไม่รู้สึกเพียงพอ จึงทำให้มีบุคลิกเฉื่อยชา เซื่องซึม ไม่กระปรี้กระเปร่า ไร้ชีวิตชีวา และอาจทำให้เป็นสาเหตุของโรคอ้วน เพราะน้ำหนักจะอ้วนง่ายขึ้น แม้ทานน้อยแต่ก็ยังอ้วนง่าย

 

 

 สัญญาณอันตราย “โรคนอนเกิน”

 

  

 

 

 

ตื่นนอนยาก ขี้เซามาก
นอนเท่าไรก็ไม่พอ เพราะยังรู้สึกง่วง เพลีย อยู่ตลอดเวลา
อยากจะงีบนอนวันละหลายๆ ครั้ง
หากมีอาการหนักมาก อาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ที่ไม่ควรหลับ เช่น ทานข้าว อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดัง ระหว่างทำงาน
หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกับเรื่องเล็กน้อย
ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดช้าทำช้า
วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า
อันตรายจากโรคนอนเกิน
เมื่อมีอาการง่วงอยู่ตลอดเวลา ทำให้กลายเป็นคนที่สมองทำงานช้า คิดช้าทำช้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง น้ำหนักก็อาจจะมากขึ้นจนอาจกลายเป็นโรคอ้วน เมื่อไม่มีการขยับเขยื้อนมากเพียงพอที่จะเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อขาดการติดต่อจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งสารให้ความสุขที่หลั่งในสมองอย่าง เซโรโทนิน และเอนดอร์ฟิน ก็ลดลงตามไปด้วย จึงทำให้มีความเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้า นอกจากนี้หากมีอาการง่วง จนงีบหลับไปขณะขับรถ หรือใช้เครื่องจักร อาจเกิดอาการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้

  เวลาที่ร่างกายต้องการในการพักผ่อนหลับนอน

 อย่างที่ทราบกันคร่าวๆ มาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนว่า ใน 1 วันเราควรนอนหลับราว 8-10 ชั่วโมงสำหรับวัยรุ่น และวัยทำงานอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันมีการอัพเดตช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับสำหรับอายุที่ต่างกัน โดยวัยรุ่น และวัยทำงานอยู่ที่ 7-9 ชั่วโมง

 

ดังนั้น ใครที่มีพฤติกรรมในการนอนที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือวัยชรา ควรเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนต่อไป ก่อนเกิดอันตรายกับร่างกายในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไข และสร้างลักษณะนิสัย ให้เป็นความเคยชินได้ในที่สุด

โรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้ มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกาย หรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

 

ต้นเหตุที่ทำให้ “นอนไม่พอ”
อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อย ๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก
ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกานนอนมากผิดปกติ
นอนกรน มีภาวการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
เนื้องอกในสมอง และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้อยากนอนตลอดเวลา

ผลเสียจากการนอนมากเกินไป

‘สมองทำงานช้า’ พอสมองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้
‘อ้วนง่าย’ การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน
‘มีบุตรยาก’ ผลจากการศึกษาผู้หญิงเกาหลีใต้ ในปี 2013 พบว่าผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเกิด ‘ภาวะมีบุตรยาก’ กว่าคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง ถึง 650 คน เพราะฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี
‘ตายเร็ว’ คนที่หลับง่ายและนอนนาน ๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%
‘โรคซึมเศร้า’ ในปี 2012 ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมง นั้นจะมีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลงเพราะสารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%

วิธีจัดการอาการหิวนอนตลอดเวลา
ตั้งเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะปกติร่างกายของคนเราจะนอนหลับเป็นรอบ ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้เรามีโอกาสที่จะนอนได้หลับลึกมากยิ่งขึ้น
กำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่นโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก
จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมอง เซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และยังทำให้ร่างกายแอ็คทีฟด้วย
งดอาหารจังค์ฟู้ด น้ำอัดลม แป้งขัดขาว เบเกอรี่ ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ร่างกายคุมไม่ได้ ทำให้ง่วง เนือย ตอนที่ระดับน้ำตาลตก
การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้ามากเกินไปนั้นก็ย่อมมีผลเสียร้ายแรงที่ตามมามากกว่าผลดีแน่นอน โรคนอนเกินคือคนที่ใช้เวลานอนนานเกิน 8 ชั่วโมง แล้วยังรู้สึกอยากนอนต่อ โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์ ฉะนั้นไม่ควรเพิกเฉยต่อการนอนที่ผิดปกติของตัวเอง เริ่มปรับพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ เพื่อตื่นมารับเช้าวันใหม่ด้วยความสดใส ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และมีความสุขตลอดวัน

 

 

 

 
 
 
 

 

 

 

^