จำนวนผู้เข้าชม: 165
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ให้มีขีดความสามารถที่พร้อมในการปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า และมีความสุข การขอรับเบี้ยความพิการสำหรับผู้พิการที่ปกติจะมีการช่วยเหลือเดือน 800 บาท สำหรับผู้พิการอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับ 1,000 บาท โดยผู้พิการจะสามารถรับเบี้ยความพิการได้นั้นก่อนอื่นจะต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการก่อน
คุณสมบัติผู้พิการที่ยื่นคำขอ
สัญชาติไทย
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
กรุงเทพมหานคร
ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
โรงพยาบาลสิรินธร
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
สถาบันราชานุกูล
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด
สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-
ต่างจังหวัด
โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
บัตรประจําตัวประชาชน
ทะเบียนบ้านของคนพิการ
รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
เอกสารรับรองความพิการ
เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (เป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)
บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ
ขั้นตอนการบริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
ยื่นคำร้อง
ตรวจสอบหลักฐาน
ถ่ายรูป
ตรวจสอบความถูกต้อง
มอบบัตรให้คนพิการ
ซึ่งนอกจากสิทธิการรับเบี้ยความพิการ 800-1,000 บาทต่อเดือน จะได้รับแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครองคนพิการอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ, การช่วยเหลือทางกฎหมาย, การปรับสภาพที่อยู่อาศัย, สิทธิทางอาชีพ, สิทธิทางการศึกษา รวมถึงสิทธิทางการแพทย์ เป็นต้น หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร. 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313