บทความที่น่าสนใจ

 

ภาพเอกซเรย์เกิดขึ้นได้อย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 100

 

ภาพเอกซเรย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

           ในปัจจุบันได้มีการนำแสงรังสีเอกซ์มาใช้ในทางการแพทย์กันอย่างกว้างขวางการใช้รังสีเอกถ่ายภาพนั้นเพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆของมนุษย์เช่นถ่ายเพื่อดูอวัยวะต่างๆภายในร่างกายถ่ายเพื่อดูการหักของกระดูกเป็นต้น การถ่ายภาพทางเราสีเริ่มต้นจากการยิงแสงรังสีดังกล่าวไปยังผู้ป่วยผ่านทะลุผู้ป่วยไปยังแผ่นคาสเส็ด (เป็นแผ่นโลหะที่สำหรับใส่ฟิล์ม) ที่อยู่ติดกับหลังของผู้ป่วยการยิงแสงหรือฉายแสงให้ทะลุผู้ป่วยไปยังฟิล์มนี้แสงที่ฉายไปบางส่วนอาจถูกร่างกายดูดกลืน แต่แสงทะลุไปจะไปทำปฏิกิริยากับสกรีน (ทำจากสารฟอสฟอว์เพื่อเป็นการเพิ่มแสงที่น้อยให้มากดังเดิม)

      

 

 

 

การเอกซเรย์คืออะไร
เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหรือข้อบกพร่องในร่างกาย ด้วยรังสี x โดยภาพที่ได้จากการใช้รังสีชนิดนี้จะเป็นภาพสีขาว - ดำ ที่มีความเข้มของสีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการดูดซับของรังสี คือทำให้เห็นภาพกระดูกเป็นสีขาว ในขณะที่ไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ จะดูดซับได้น้อยจึงทำให้เห็นเป็นเพียงสีเทา ส่วนอากาศจะดูดซับได้น้อยที่สุด จึงทำให้เมื่อเอกซเรย์ปอดออกมาแล้วเป็นสีดำ จากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยผลที่ได้ในเวลาต่อมา

 

     

   

วิธีนี้เป็นหนึ่งในขั้นตอนการวินิจฉัยความผิดปกติภายในร่างกายโดยแพทย์ เช่น

 

ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม หากผู้ป่วยได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกายหรือการกลืนวัตถุต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายตรวจหาความผิดปกติของกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งกระดูก เป็นต้นมะเร็งเต้านม โดยการตรวจหาความความผิดปกติบริเวณเนื้อของเต้านม
การอุดตันของหลอดเลือด ด้วยการฉีดสารที่ผสมไอโอดีนเข้าไปเพื่อให้เกิดการเรืองแสงในระบบหลอดเลือด ตรวจหาปัญหาสุขภาพปอด เช่น มะเร็งปอด น้ำท่วมปอด เป็นต้น

การตรวจเอกซเรย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
กระดูก เพื่อตรวจดูความผิดปกติของกระดูกตามส่วนต่าง ๆ เช่น ฟัน แขน ขา เป็นต้น
ทรวงอก การตรวจตรงจุดนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจปอด หัวใจ การตรวจแมมโมเเกรมเพื่อหามะเร็งเต้านม ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและหาสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย

การเตรียมตัวก่อนการเอกซเรย์
โดยปกติแล้วสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจบางรายจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการตรวจ ควรงดการทานอาหารและยา นอกจากนี้หากผู้ตรวจกำลังตั้งครรภ์ควรรีบบอกแพทย์ทันทีเพื่อเลื่อนการตรวจออกไปก่อน

ขั้นตอนการเอกซเรย์

ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่โรงพยาบาลกำหนดไว้ เมื่อเข้าสู่การเอกซเรย์ให้จัดท่าทางของร่างกายตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้ผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจจำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วยในการตรวจด้วย หลังจากที่เครื่องทำการเอกซเรย์เสร็จสิ้น แพทย์จะนำผลที่ได้ไปวินิจฉัยต่อไป

หลังการทำเอกซเรย์
ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับบ้านหรือรอฟังผลได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการตรวจนั้นไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลกระทบ เพราะสารที่ใช้มีปริมาณรังสีที่น้อยมาก อย่างไรก็ตามอาจมีผลกระทบเกิดขึ้นกับร่างกายได้ เช่น ตาพร่ามัว อุจจาระมีสีซีด หรือมีผื่นขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้หากพบอาการผิดปกติสามารถเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ได้


 

เทคโนโลยีทางการแพทย์
CT Scan เทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยโรค และความผิดปกติของร่างกาย ด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณที่ต้องการตรวจบนร่างกาย เพื่อดูอวัยวะภายในและทำการวินิจฉัยโรคหรือใช้ในการติดตามโรคที่เป็นอยู่ต่อไป เครื่อง CT Scan จะให้รายละเอียดของภาพมากกว่าการเครื่องแบบธรรมดาทั่วไป โดยทางโรงพยาบาลเพชรเวชได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงชนิด 128 สไลด์ หรือ CT 128 Slices เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง สามารถสแกนได้เร็วถึง 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 0.5 วินาที โดยสามารถวินิจฉัยโรคในสมอง ทรวงอก ช่องท้อง กระดูกต่าง ๆ และหลอดเลือด
Mammogram คือ เอกซเรย์เต้านมโดยรูปที่ได้จะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของเต้านม การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นการตรวจที่แม่นยำ สามารถทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติของเต้านมนอกเหนือจากการตรวจร่างกาย และถึงแม้ว่าจะไม่มีเชื้อมะเร็งเต้านมก็สามารถตรวจเพื่อเฝ้าระวังได้ การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวยังมีความแม่นยำมากกว่าการทำอัลตราซาวด์เพราะการอัลตราซาวด์ไม่สามารถตรวจพบคราบหินปูนในเต้านมได้

การเอกซเรย์เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีในการตรวจหาความผิดปกติภายในร่างกาย หากเราสามารถพบเจอโรคร้ายได้ก่อนที่อาการของโรคนั้นจะรุนแรง เราก็สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ในการรักษาตามขั้นตอนต่อไป

 

 

^