จำนวนผู้เข้าชม: 204
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันได้มีการใช้รังสีเอกซ์เพื่อการถ่ายภาพฟลูออโรสโคปีก็ใช้รังสี x นี้เช่นกัน fluoro scopy คือการถ่ายภาพรังสีที่ระบบทางโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ควบคู่กัน เพื่อตรวจเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท่อน้ำไขสันหลังระบบทางเดินน้ำดีและอื่นๆอีกมากมาย การถ่ายภาพทางรังสีแบบนี้ปัจจุบันนี้ค่อนข้างแพร่หลายในวงการแพทย์การใช้รังสีเอกซ์ควบคู่กับโทรทัศน์วงจรปิดนี้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางสาขาเท่านั้นที่ใช้ถ่ายภาพโดยฉายแสงไปยังผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจแสงจะผ่านทะลุผู้ป่วยไปยังจอรับสัญญาณและไปแสดงภาพบนจอโทรทัศน์ซึ่งเราสามารถเห็นอวัยวะต่างๆเคลื่อนไหวไปมาบนจอภาพการตรวจแบบนี้ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องกลืนสารทึบแสงเช่นแบเรียมซัลเฟตหรือสารบางอย่างที่มีไอโอดีนปะปนอยู่
เพราะสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีหลังจากกลืนแล้วเราจะเห็นการไหลเวียนเช่นเดียวกับการกลืนอาหารของมนุษย์ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายหรือแพทย์ผู้ตรวจอาจจะ ฉีดสารดังกล่าวเข้าทางเส้นโลหิตดำหรืออาจฉีดเข้าไปในอวัยวะโดยตรงเลยก็อาจทำได้เพื่อตรวจดูความผิดปกติของส่วนที่จะตรวจนั้นเราจะเห็นสารที่กลืนหรือฉีดเข้าไปนี้ทุกขั้นตอนบนจอภาพโทรทัศน์วงจรปิดนี้แล้วแพทย์ผู้ตรวจจะทำการบันทึกภาพบนแผ่นฟิล์มหรือวีดีโอต่อไปซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
พื้นฐานเกี่ยวกับฟลูโอโรสโคปี
ฟลูโอโรสโคปี (fluoroscopy) เป็นการตรวจทางรังสี ซึ่งเป็นการใช้รังสีเอกซ์โดยรังสีแพทย์เพื่อให้ได้ภาพของอวัยวะภายในร่างกายที่เป็นภาพจริง ณ ขณะนั้น (real time imge) ระบบประกอบด้วยเตียงเอกซเรย์ และแกนเอกซเรย์ที่เป็นแขนรูปตัว C ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเอกซเรย์อยู่ใต้เตียง และมีตัวรับภาพอยู่เหนือเตียง และส่งสัญญาณภาพไปแสดงยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ในทันที
อย่างไรก็ตามการใช้เอกซเรย์ ยังมีอันตรายเนื่องจากเอกซเรย์เป็นรังสีที่แตกตัวได้ ดังนั้นการตรวจจะต้องพิจารณาความคุ้มค่าและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การใช้เวลาในการตรวจไม่มากนัก และการใช้เทคโนโลยีตัวรับภาพและการสร้างภาพรุ่นใหม่จะทำให้กระบวนการตรวจมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประวัติ
การเริ่มต้นของระบบฟลูโอโรสโคปี สามารถสืบค้นไปในช่วงเดียวกับการค้นพบเอกซเรย์นั่นเอง นั่นคือเมื่อพบเอกซเรย์แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญคือ Thomas Edison ก็ได้ค้นพบว่าแผ่น calcium tungstate สามารถที่จะส่งสว่างเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยเอกซเรย์ และได้ผลิตเครื่องฟลูโอโรสโคปีออกขายเพื่อการค้านับแต่นั้น
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของแผ่นเรืองแสง ดังนั้นการตรวจฟลูโอโรสโคปีในช่วงแรกๆ จึงต้องทำในห้องมืด ซึ่งเป็นปัญหาเป็นอย่างมาก ต่อมามีการพัฒนาแผ่นเรืองแสงและระบบกล้องโทรทัศน์ในช่วงปี 1950 ระบบฟลูโอโรสโคปีจึงได้พัฒนาเพิ่มขึ้น จนสามารถทำการตรวจในห้องปกติได้ และระบบกล้องทำให้สามารถเห็นภาพของการตรวจผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้ในทันที และเมื่อพัฒนาแผ่นเรืองแสงที่ทำจาก CsI ซึ่งช่วยลดสิ่งรบกวนในภาพ ทำให้ปริมาณรังสีที่ให้แก่ผู้ป่วยลดลงแต่ได้ภาพที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
แม้ว่าการตรวจฟลูโอโรสโคปีจะมีปริมาณรังสีที่น้อย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นการตรวจในสตรีมีครรภ์และเด็กจึงจำเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงอยู่
การส่งตรวจทั่วไป
จุดประสงค์ในการส่งตรวจ ได้แก่
- สงสัยพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหาร โดยส่งตรวจสวนแป้งระบบลำไส้ใหญ่ กลืนแป้งสำหรับระบบหลอดอาหารและทางเดินอาหารส่วนต้น
- สงสัยพยาธิสภาพของระบบประสาทไขสันหลัง และระบบข้อต่อต่างๆ
- สงสัยพยาธิสภาพของระบบสืบพันธ์สตรี
- ช่วยในการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ (กระดูก)