บทความที่น่าสนใจ

 

ประโยชน์ของปุ๋ยหมักมีอะไรบ้าง?

จำนวนผู้เข้าชม: 125

 

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบที่มาจากอินทรีย์วัตถุชนิดต่าง ๆ ได้แก่ซากพืช ใบไม้ มูลสัตว์ หมักย่อยสลายจนเกิดสารอาหารที่พืชต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งแบ่งเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งปุ๋ยแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ และสรรพคุณที่แตกต่างกัน แต่ประการหลัก คือ จะช่วยให้พืชผลเจริญงอกงามดี เช่นเดียวกับต้องการแสงแดดและน้ำ พูดง่าย ๆ เราต้องใส่ปุ๋ยในไร่นา แปลงผัก สวนสวย พืชผลจึงจะงามดี ปุ๋ยอินทรีย์ เปรียบเสมือนโรงงานแปรสภาพธาตุอาหารที่ในดินให้กลับมาอยู่ในรูปของปุ๋ย ซึ่งรากพืช สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ “ปุ๋ย” กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารสำหรับพืช แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยเม็ด ข้อดีของปุ๋ยเม็ด คือ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้นไม้ต้องการ แต่การปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมีในจำนวนมาก ๆ ก่อให้เกิดสารตกค้างในพืชผักได้เช่นกัน ดังนั้นปุ๋ยอินทรีย์ จึงเป็นเหมือนทางออกสำหรับคนรักสุภาพและอยากได้อาหารที่ปลอดภัยนั่นเอง

 

วิธีทำปุ๋ยหมัก

 

นำหน่อกล้วยสับละเอียด 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน และน้ำมะพร้าวอ่อนมาผสมกัน
นำน้ำหมักจุลินทรีย์ จากขั้นตอนข้างต้น กากน้ำตาล และน้ำใส่ลงไปในบัวรดน้ำ
นำไปรดให้ชุ่มกองส่วนผสมที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากันจนกว่าจะกำแล้วก้อนไม่แตก
นำส่วนผสมมาใส่ในกระสอบปุ๋ย โดยไม่ต้องมัดปาก แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่มประมาณ 5-7 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักที่หอม มีจุลินทรีย์ และอินทรีย์ต่าง ๆ พร้อมแก่การนำไปใช้
ประโยชน์ แต่ทางที่ดีอย่าลืม ผสมปุ๋ยหมักกล้วย 1 ส่วน เข้ากับปุ๋ยคอก 10 ส่วน เพื่อประสิทธิภาพที่ดี

 

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

 

ปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยหมักจึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยหมัก เพราะทำให้ปุ๋ยหมักสามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยหมักบางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยหมักให้พืชได้ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ

 

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก 

 

1. ช่วยปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

 

ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพหรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เซ่น ถ้าดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยหมักก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของปุ๋ยหมัก เพราะที่ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยหมัก ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ดหรือการซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น

 

 2. ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

 

ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซนต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซนต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย ถึงแม้ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยหมักมีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง 3 ธาตุที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีกเซ่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะโม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น แร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าใน แง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่างเช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหาร พืชทื่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ำฝนหรือน้ำชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ ของดินไว้อีกทางหนึ่งเป็นต้น จากคุณสมบัติ ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมัก จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มขันเหมือนปุ๋ยเคมี แด่ก็มีลักษณะ อื่นๆ ที่ช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี

 

 

ประโยชน์ของปุ๋ยยน้ำชีวภาพในการเกษตร

 

1.ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ
2.ช่วยแก้ปัญหาจากศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ
3.ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศอย่างเหมาะสม
4.ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
5.ช่วยสร้างโฮโมนพืช พืชจะให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี และคงทนสามารถเก็บได้นาน
6.ช่วยกำจัดน้ำเสียภายในฟาร์ม ได้ภายใน 1-2สัปดาห์
7.ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ แทนการใช้ยาปฏิชีวนะและอื่นๆ ได้
8.ช่วยกำจัดแมลงวันโดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแด้เป็นตัวแมลงวัน
9.ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง อัตราตายต่ำ
10.ช่วยรักษาสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้สะอาดนานกว่าปกติ โดยช่วยย่อยสลายมูล และอาหารที่เหลือกินของสัตว์น้ำ พร้อมสร้างแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง

ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพในครัวเรือน

นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์ในการเกษตรแล้ว เรายังสามารถนำน้ำชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้คือ
1.ราดส้วมที่มีกลิ่นเหม็น จะช่วยเร่งการย่อยสลายกากอาหารทำให้หมดกลิ่นเหม็น
2.ราดท่อระบายน้ำอ่างล้างจาน เพื่อย่อยสลายคราบไขมันและกลิ่นบูดเน่า
3.นำน้ำชีวภาพตามสูตรสารไล่แมลง เพื่อฉีดพ่นมดและแมลงสาบภายในบ้าน หรือผลไม้ดิบ เช่น มะละกอ สับปะรด มะม่วง หรือสมุนไพร เช่น สะเดา
4.ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร
5.ผสมน้ำอาบให้สัตว์เพื่อกำจัดกลิ่น และผสมในน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยงกิน

 

 

^