บทความที่น่าสนใจ

 

อันตรายจากสีที่ใช้ผสมอาหารมีอะไรบ้าง?

จำนวนผู้เข้าชม: 168

 ใช้สีผสมในอาหารจำพวกลูกกวาด ขนมถาด ไส้กรอก หมูแดงและน้ำราดหมูแดง ผลไม้ ดอกมะพร้าวแก้ว และอื่นๆมากมาย และพบว่าสีที่ใช้เป็นสีย้อมผ้าเพราะหาง่ายและราคาถูก สังเกตได้ว่าอาหารเหล่านี้มีสีฉูดฉาดหรือมีสีเรืองแสง สีย้อมผ้ามีกรรมวิธีการผลิตคล้าย สารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์แต่มีคุณภาพต่ำกว่า มีสารปนเปื้อนจำพวกโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท ในปริมาณสูง ซึ่งใช้สำหรับย้อมผ้า ย้อมเส้นใย หรือกระดาษ ถ้านำไปใช้ผสมอาหารจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารปนเปื้อนเหล่านั้นสะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆจนเป็นอันตรายได้ เช่น ตะกั่วทำให้เป็นโรคโลหิตจางหรือสารปนเปื้อนอื่นๆหลายชนิดรวมกันอาจทำให้เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ สีบางชนิดมีโลหะหนักเป็นตัวช่วยให้สีเข้มโดย ไม่มีการควบคุมปริมาณโลหะหนักในสีที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร การได้รับโลหะหนักเข้าไปในร่างกายมากๆหรือเป็นประจำอาจเป็นอันตราย เช่น การได้รับสารตะกั่วนานๆจะทำให้เป็นโลหิตจางหรือเป็นโรคพิษตะกั่ว ส่วนสารหนูก็อาจเป็นอันตรายถึงตายได้

   

 

สีผสมอาหาร หมายถึง วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่ผสมในอาหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

 

ความสำคัญของสีผสมอาหาร
ช่วยแก้ไขสีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูปหรือเก็บรักษาอาหารช่วยเพิ่มหรือเน้นหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหารช่วยสีสันของอาหารทำให้ดึงดูดความสนใจที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค
การใช้ประโยชน์สีผสมอาหารการใช้สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสีเพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่มหรือเครื่องดื่มผง ลูกกวาด ไอศกรีม แยม เยลลี่ เป็นต้น
การใช้แต่งอาหารที่มีสูญเสียหรือเปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา เช่น การผสมสีผสมอาหารในเบียร์ น้ำเชื่อม และอาหารอบ เป็นต้น
การใช้แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้แต่งสีน้ำนมวัวที่ผลิตได้ในฤดูหนาวให้มีสีเข้มขึ้น เพราะน้ำนมวัวในฤดูหนาวจะมีสีอ่อน
เนื่องจากได้รับสารเบต้าแคโรทีนจากหญ้าในปริมาณน้อย ขณะที่น้ำนมวัวในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้ม เนื่องจากได้รับบีตาแคโรทีนในหญ้าที่มีมากกว่าหญ้าในฤดูหนาว

ประเภทของสีผสมอาหารสีผสมอาหารแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. สีสังเคราะห์
2. สีธรรมชาติ

สีสังเคราะห์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. สีอินทรีย์สังเคราะห์
2. สีสังเคราะห์เรียนแบบสารธรรมชาติ

สีอินทรีย์สังเคราะห์ (certified color หรือ synthetic colorant) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. สีสังเคราะห์ที่ละลายน้ำ แต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (dyes) เหมาะสำหรับอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
2. สีสังเคราะห์ที่ละลายได้ในน้ำมัน (lakes) เหมาะสำหรับอาหารประเภทไขมัร แบน้ำมัน และไขมัน ส่วนสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์(ponceau4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (carmosine or azorubine), เออริโทรซีน (erythrosine) จัดอยู่ในกลุ่มของสีแดง ส่วนตาร์ตราซีน (tartasine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (sutset yellow FCF), ไรโบฟลาวิน (riboflavin) จัดอยู่ในกลุ่มของสีเหลือง ส่วนฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (fast green FCF) จัดอยู่ในกลุ่มของสีเขียว ส่วนอินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (indigocarmine or indigotine), และบริลเลียนท์ บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (brilliant blue FCF) จัดอยู่ในกลุ่มของสีน้ำเงิน


 

 

สีสังเคราะห์เรียนแบบสารธรรมชาติ ได้แก่ บีตาแครอทีน, บีตา-อะโป-8-แครอทีนาล เป็นต้น

 

สีจากธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. สีอนินทรีย์ ได้แก่ ผงถ่าน ปูนขาว และไทเทเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) เป็นต้น
2. สีที่สกัดได้จากธรรมชาติ (natural pigment) ได้แก่ สีที่สกัดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ผัก ผลไม้ จุลินทรีย์ และสัตว์1. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค ได้แก่ลูกอมลูกกวาดไอศกรีมเยลลี่ นมปรุงแต่ง นํ้าเชื่อม เครื่องดื่มวิสกี้

 

 

สีผสมอาหาร (อังกฤษ: Food coloring) เป็นสีย้อม สารสีหรือสารใด ๆ ที่ให้สีเมื่อเพิ่มในอาหารหรือเครื่องดื่ม มีหลายรูปแบบทั้งของเหลว ผง เจลและสีป้าย สีผสมอาหารใช้ทั้งในการผลิตอาหารเชิงพาณิชย์และในการประกอบอาหารในบ้าน เนื่องจากความปลอดภัยและหาได้ทั่วไป สีผสมอาหารยังใช้ประโยชน์นอกเหนือจากอาหารได้หลายอย่าง รวมถึงเครื่องสำอาง ยา โครงการงานทำมือและอุปกรณ์การแพทย์

 

^