จำนวนผู้เข้าชม: 159
ขี้ผึ้งจากพืชเป็นขี้ผึ้งที่ได้มาจากพันธุ์ไม้เขตร้อนหลายชนิดซึ่งสามารถสร้างขี้ผึ้งได้เองตามธรรมชาติโดยเกิดอยู่ตรงใบ ลำต้นและผล เช่นขี้ผึ้งเบอร์รี่ ขี้ผึ้ง แคนเดลลิลา คาร์นอบา เจแปน และ ซูก้าเคน เป็นต้น ในบรรดาขี้ผึ้งชนิดต่างๆที่กล่าวมานี้ ขึ้ผึ้งคานอบาร์เป็นที่นิยมและนำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่าตัวอื่น ขึ้ผึ้งคาร์นอบา ได้จากส่วนในของต้นปาล์มที่ชื่อ คานอร์บาปาล์มที่ปลูกทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล ขึ้ผึ้งที่ได้จากพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง เช่น ผสมในเครื่องสำอางทั้งที่เป็นครีมและลิปสติก ผสมในขนมหวานบางชนิดและหมากฝรั่งใน ทางการแพทย์ใช้ขี้ผึ้งคาร์นอบา ผสมน้ำยาทาแผลหรือริมฝีปาก ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยและหล่อลื่นต่าง ๆ รวมถึงสารขัดเงาและเคลือบวัสดุด้วย
ขี้ผึ้ง คือ ไขมันในสถานะของแข็ง เกิดขึ้นจากการผสมของสารประกอบหลายชนิดได้แก่ไฮโดรคาร์บอน (สารเคมีจำพวกน้ำมันดิน) 14%, โมโนเอสเตอร์ 35%, ไดเอสเตอร์ 14%, ไตรเอสเตอร์ 3%, ไฮดรอกซีโพลีเอสเตอร์ 8%, เอสเตอร์ของกรด 1%, กรดอิสระ 12%, แอลกอฮอล์อิสระ 1% รวมถึงสารที่ไม่สามารถระบุได้อีก 6% ขี้ผึ้งถูกเก็บอยู่ในตัวของผึ้งน้ำหวานในรูปของเกล็ดบาง ๆ เกล็ดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยต่อมที่อยู่บริเวณท้องน้อยของผึ้ง ส่วนผึ้งงานมีต่อมดังกล่าวอยู่แปดต่อมอยู่ด้านในของเปลือกปล้องกลางบริเวณท้องน้อยในอัตราส่วน 4 ต่อ 7 ขนาดของต่อมผลิตขี้ผึ้งขึ้นอยู่กับอายุของผึ้งงาน
ผึ้งน้ำหวานนำขี้ผึ้งของตนเองไปใช้สร้างโพรงเล็ก ๆ ในรวงน้ำผึ้ง และใช้ในการเก็บน้ำผึ้งและเรณูดอกไม้ ในการที่ผึ้งที่ทำหน้าที่ในการสร้างขี้ผึ้ง (ผึ้งน้ำหวานอายุ 12 วัน) จะผลิตขี้ผึ้งได้นั้น อุณหภูมิภายในรังผึ้งจะต้องอยู่ระหว่าง 33 ถึง 36°C (องศาเซลเซียส) โดยผึ้งที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องบริโภคน้ำผึ้งถึงประมาณแปดปอนด์ (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ในการที่จะผลิตขี้ผึ้งเพียงปอนด์เดียว (ประมาณ 0.4 กิโลกรัม) เมื่อผู้เก็บน้ำผึ้งเข้าไปทำการเก็บน้ำผึ้ง พวกเขาจะตัดฝาปิดโพรงผึ้งออกในแต่ละโพรงของรังน้ำผึ้ง สีของขี้ผึ้งมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงสีเหลืองแกมน้ำตาล ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งจากรวงเพาะเลี้ยงในรังผึ้งจะมีสีเข้มกว่าขี้ผึ้งจากรวงน้ำผึ้ง ที่ ๆ ซึ่งความปนเปื้อนเกิดขึ้นได้น้อยกว่า
ขี้ผึ้งเป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวอยู่ระหว่าง 62 - 64°C ขี้ผึ้งไม่มีจุดเดือด แต่จะกักเก็บความร้อนต่อไปจนมันลุกเป็นไฟเมื่ออุณหภูมิประมาณ 120°C เมื่อขี้ผึ้งได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85°C สีของขี้ผึ้งจะเริ่มหลอมละลายออกไป ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 15°C คือตั้งแต่ 0.958 - 0.970 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
มนุษย์นำขี้ผึ้งไปใช้ในการผลิตเทียนไขคุณภาพดี, เครื่องสำอาง รวมถึงวัสดุและสารขัดเงา (มักจะเป็นยาขัดรองเท้า) และเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขี้ผึ้งเมื่อนำมาใช้เป็นเทียนจะไม่เกิดน้ำตาเทียนและมีควันที่น้อยกว่าธูปหรือเทียนธรรมดาอย่างมาก ซึ่งทำให้มันเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบพิธีทางคริสต์ศาสนา