จำนวนผู้เข้าชม: 187
กบที่นิยมนำมาเลี้ยงกันมีอยู่ 3 ชนิดคือ
ชนิดแรก กบนา เป็นกบขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาวประมาณ 13 เซนติเมตรตัวหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ 250 กรัมผิวสีน้ำตาลปนเขียว ด้านท้องมีสีขาวเหลืองและใต้คางอาจจะมีจุดลายริ้วกบชนิดนี้พบได้ทั่วไปตามกอหญ้าริมถนนหรือบริเวณแอ่งน้ำต่างๆ
กบนา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoplobatrachus rugulosus) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae)
ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400 กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัวแสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 150– 50 กรัม เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในช่วงนี้ลำตัวจะมีสีเหลือง นิ้วเท้าด้านหน้าจะมีตุ่มที่ขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นได้ชัดเจน ตุ่มนี้มีประโยชน์ในการใช้เกาะตัวเมียและตุ่มนี้จะหายไปในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 1,500–3,000 ฟอง ต่อครั้ง ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา 24–36 ชั่วโมง ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา 28–45 วัน โดยลูกอ๊อดมีลำตัวสีเขียว
พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้
ชนิดที่ 2 กกทูต เป็นกบขนาดใหญ่มากที่ความยาวเต็มที่ประมาณ 28 ซม ตัวหนึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1,400 กรัม ผิวมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดสีดำอยู่ที่ส่วนล่างของขากรรไกรบนและส่วนบนของขากรรไกรล่าง กบชนิดนี้จะพบได้ตามลำคลองต้นน้ำหรือป่าดงดิบโดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคใต้
กบทูด, กบภูเขา หรือ เขียดแลว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnonectes blythii) ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยพบภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา, อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในกัมพูชา, ลาว และเวียดนาม
มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุดสีดำ น้ำตาลเข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้ตายได้
ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
ฤดูผสมพันธุ์ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม–มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่ตัวเองขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร
กบทูดจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป กรมประมงจึงส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เช่น สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้
ชนิดสุดท้ายคือ กบภูเขาหรือเขียดเลย เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตัวโตเต็มที่มีน้ำหนักถึง 3,000 กรัม แต่ในช่วงฤดูหนาวมีขนาดประมาณ 250 กรัม รูปร่างลักษณะโดยทั่วไปมีหัวค่อนข้างแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้าง ภายในปากด้านหน้าชั้นล่างมีเขี้ยว 1 คู่ ผิวหนังมีสีน้ำตาลแดงลักษณะนิสัยไม่ชอบขุดรูเหมือนกบทั่วไป กบชนิดนี้พบมากทางภาคเหนือ เช่น แม่ฮ่องสอนเชียงรายและ ตาก กบภูเขานั้นเป็นกบที่มีขนาดยาวประมาณ 10-25 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว จัดเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ นัยน์ตาโต มีหนังตาปิดเปิดได้ ขาคู่หน้าสั้นมี 4 นิ้ว ขาคู่หลังมี 5 นิ้ว เป็นตุ่มกลมอยู่ปลายนิ้ว มีพังผืดยึดระหว่างนิ้ว จะงอยปากค่อนข้างแหลม จมูกอยู่ใกล้กับปลายจะงอยปาก ผิวหนังเรียบมีสีน้ำตาลเข้ม อบปากล่างมีเส้นสีเหลืองแบ่งเขตระหว่างส่วนในปากและส่วนนอก ขาคู่หลังมีสีน้ำตาลแก่พาดขวางขาและดูเป็นปล้อง ใต้ท้องใต้ขาเป็นสีขาวปนเหลือง ด้านหน้าอกมีจุดสีดำจาง ๆ กระจายอยู่ กบภูเขาตัวผู้ส่งเสียงร้องดังคล้ายเสียงวัวร้อง ตัวผู้ปุ่มกระดูกจากกรรไกรล่างยื่นแหลมออกคล้ายเขี้ยวอยู่บริเวณด้านหน้าของขากรรไกร กบภูเขาตัวเมียเขี้ยวจะอยู่ลึกเข้าไปในปาก กินแมลง สัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น งู เป็นต้น
ปัจจุบันผู้คนนิยมนำกบภูเขามาประกอบอาหารบริโภคกันมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นกบภูเขาที่เกษตรกรเข้าไปหามาจากแหล่งอาศัยธรรมชาติ มาจำหน่ายเพื่อประกอบอาหาร ด้วยกบภูเขาเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารจะให้รสชาติอร่อย เนื้อหวาน ส่วนใหญ่จะนำมาแกง-ทอด-ยำ-ผัด และจากที่กบภูเขามีส่วนช่วยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศในป่าลึกให้คงสภาพอุดมสมบูรณ์ ด้วยการควบคุมจำนวนแมลงและสัตว์อื่น ๆ ให้มีจำนวนที่เหมาะสม หากลดจำนวนน้อยลงป่าธรรมชาติอาจจะมีปัญหาตามมาได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ศึกษาเพื่อขยายพันธุ์และขยายผลสู่การเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกร ซึ่งพบว่าประสบผลสำเร็จในหลายพื้นที่สามารถนำไปขยายผลถ่ายทอดสู่การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรได้แล้ว อย่างที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
สำหรับกบภูเขานั้น ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรียกว่าเขียดแลว กบชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาและป่าอุดมสมบูรณ์ พบมากบริเวณป่าสมบูรณ์แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย ใน อ.เบตง จ.ยะลา และบริเวณใกล้เคียง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะออกมาจากป่าดงดิบเพื่อผสมพันธุ์ในบริเวณลำธาร บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กบคลอง เพื่อนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายแก่ร้านอาหาร ราคากิโลกรัมละ 80-120 บาท เนื้อกบภูเขาค่อนข้างขาวใสและเหลวกว่าเนื้อกบนา ไขมันสะสมน้อย ทำให้มีรสชาติดีกว่ากบนา กบภูเขาจึงเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของอำเภอเบตง