จำนวนผู้เข้าชม: 175
นกปากห่างอาศัยอยู่ที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี อาศัยอยู่ปีละประมาณ 8 เดือน อยู่กันเป็นหมื่นตัว อีก 4 เดือนกลับไปอยู่แถวๆประเทศอินเดีย ต้นไม้ที่นกปากห่างเกาะอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะทนน้ำหนัก และทนมูลนกไม่ไหว ล้มตายกันเป็นแถวๆ ปากห่างก็เพราะปากห่างจริงๆ โดยเฉพาะตรงกลางปาก เพื่อเหมาะสำหรับการหากิน นกปากห่างจะกินเฉพาะหอยโข่ง มีน้อยที่จะกินตั๊กแตนหรือกินแมลง ตรงปากห่างนี้ใช้จับหอยโข่ง ลื่น ๆ ไว้แน่นไม่ให้หลุดจากปากได้ วิธีการกินหอยโขงนั้นนกปากห่างกรอกน้ำลายลงไปที่ปากหอยโข่ง หอยเมื่อถูกน้ำลายที่ร้อนก็จะเปิดฝาเปลือก นกก็จะจิกเอาตัวหอยไว้ แล้วจะสะบัดให้หลุดจากเปลือกหอยโดยที่ไม่ทำลายเปลือกหอยโข่งเลย
เหตุที่นกปากห่างมาอยู่ที่วัดไผ่ล้อมคงจะเพราะมีอากาศหนาวมาและที่อยู่เดิมในช่วงนั้นคงจะขาดอาหาร บริเวณที่นกปากห่างอาศัยที่วัดไผ่ล้อมจังหวัดปทุมธานี รอบๆเป็นทุ่งนาหาหอยโข่งกินได้ง่าย หาไปได้ตั้งแต่ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม สิงห์บุรี นกปากห่างจะมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกรกฎาคม กล่าวคือในระหว่างเข้าพรรษา นกปากห่างจะไม่อยู่ในประเทศไทย มาอยู่อย่างนี้เป็นเวลา 100 ปีเศษแล้ว เมื่อมาถึงวัดไผ่ล้อมใหม่ๆก็จะหยุดพักเหนื่อยประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากนั้นก็จะลงมือเลือกคู่ พอเลือกคู่ได้แล้วก็จะช่วยกันทำรังตามกิ่งไม้สูงๆ แล้วจะเริ่มวางไข่ นกจะวางไข่วันละฟองจนครบ 4 วันก็ได้ 4 ฟอง แล้วจึงเริ่มฟักไข่ รูปร่างของไข่ก็จะคล้ายๆไข่เป็ดสีขาวๆเหมือนกัน ระหว่างที่กกไข่นั้นจะผลัดกันออกไปหากิน จะเฝ้ารัง 1 ตัวเพื่อคอยระวังมิให้กามาลักไข่ไปกินและมิให้นกตัวอื่นมาขโมยไม้ขัดทำรังเอาไป จะฟักไข่ประมาณ 27-29 วัน ลูกนกออกใหม่ๆกินจุ เวลาหิวจะร้องเสียงดัง พ่อนกแม่นกจะผลัดกันไปหาหอยแล้วกลับมาขย้อนที่รัง ครั้งละประมาณ 7-8 ตัว วันหนึ่งๆจะต้องออกไปหาอาหารมาป้อนลูกถึง 7-8 ครั้ง
ลูกนกจะโตเร็วอายุประมาณ 40 วันก็จะหัดบินถ้าตกรังก็ตายเพราะรังอยู่สูงมากนอกจากนั้นยังมี เหี้ย ตะกวด สุนัข คอยดักกินอยู่ ลูกนกบางตัวจะตายจากการที่มีพยาธิมากพยาธินั้นก็จะติดมาจากหอยโข่งตนเองเพราะกินสดๆ พอลูกโลกโตขึ้นสามารถบินได้ไกลก็ จะถึงเวลาที่จะอพยพกลับถิ่นฐานนั่นคือบินไปบังกลาเทศ อินเดีย หรือปากีสถาน
นกปากห่าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anastomus oscitans) จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดเป็นนกในวงศ์นี้ขนาดเล็ก แต่จุดเด่นที่ไม่เหมือนนกชนิดอื่นก็คือปากที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน มีขายาว คอยาว ปากใหญ่ส่วนกลางของปากห่างออกเพื่อคาบหอยโข่งซึ่งกลมลื่นได้ ขนตามตัวมีสีขาวมอ ๆ หางมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนปลายปีกมีสีเหมือนและเป็นแถบสีดำ นกปากห่างมีลำตัวยาว 32 นิ้ว ชอบอยู่เป็นฝูง ทำรังบนต้นไม้ ทำรังด้วยเรียวไม้แบบนกยางหรือรังกา ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ตัวผู้และตัวเมียจะผลัดกันกกไข่ ในการผสมพันธุ์ เวลาตัวผู้ขึ้นทับตัวเมียนั้น นกตัวผู้จะใช้เท้าจับขอบปีกหน้าของตัวเมียไว้แน่น ทั้งสองตัวจะกระพือปีกช่วยการทรงตัว ตัวผู้จะแกว่งปากของมันให้กระทบกับปากของตัวเมียอยู่ตลอดเวลาที่ทำการทับ ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ จะไม่มีขน หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีขนปุยขาว ๆ คลุม อีกราวเกือบ 2 เดือนก็มีปีกหางแข็งแรงแล้วก็เริ่มหัดบิน
ถิ่นอาศัย
ประชากรนกปากห่างในประเทศไทยมีประมาณ 300,000-400,000 ตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มักพบในภาคกลางและอีสาน แต่เนื่องจากเป็นนกที่อพยพย้ายถิ่นหากินตามฤดูกาล ทำให้พบได้ในหลายประเทศ ซึ่งในประเทศไทยในเดือนมิถุนายนจะพบเห็นได้มากที่สุด เนื่องจากนกชนิดนี้ได้อพยพกลับมา โดยประเทศไทยเป็นพื้นที่แหล่งทำรังวางไข่ที่สำคัญที่สุดของนกปากห่าง และเป็นพื้นที่อาศัยที่รองรับประชากรของนกปากห่างมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งโลก
แหล่งอาหาร
พบทุกภาคในประเทศไทย แต่มักพบมากที่ภาคกลาง บริเวณนาข้าว นกชนิดนี้มักชอบกินหอยเชอร์รี่และหอยโข่ง โดยสถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอาศัยของนกปากห่างที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ วัดไผ่ล้อม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และยังมีตามสวนนกทั่วไปเช่นสวนนกประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
การแพร่กระจายพันธุ์
นกปากห่างแพร่กระจายพันธุ์ อยู่ในทวีปเอเชียตอนใต้ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ไทย ประเทศแถบอินโดจีน จำนวนในแต่ละประเทศไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพราะนกปากห่างมีการอพยพย้ายถิ่นไป ๆ มา ๆ ระหว่างประเทศเหล่านี้ตลอดทั้งปี เพื่อหาแหล่งหากินและทำรังวางไข่