จำนวนผู้เข้าชม: 241
เป็นความจริงที่ว่าในชั่วชีวิตของคนเรานี้ไม่ตอนใดก็ตอนหนึ่งต้องมีอาการของริดสีดวงทวารหนักแต่มีอยู่น้อยคนที่รู้จริงๆว่าริดสีดวงคืออะไรริดสีดวงคือหลอดเลือดดำที่ทวารหนักพอออกทำให้มีอาการเจ็บๆคันๆในระยะแรกและเจ็บปวดในระยะหลัง เมื่อพองออกมามากขึ้นก็แตกเป็นแผลและมีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ ในคนที่เป็นเรื้อรังท้องผูกเสมอ หลอดเลือดที่โป่งพองจะมีอาการอักเสบและถูกดันโผล่ออกมาภายนอก ทำให้นั่งไม่สะดวก ยืนเดินก็ไม่สบาย ถ้าเกิดอักเสบเป็นหนองเป็นแผลจะบวมพองเจ็บปวดและมองดูน่ากลัวมาก
ริดสีดวงทวาร หมายถึง การมีกลุ่มของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา
ริดสีดวงเกิดจากผลของการวิวัฒนาการ คือวิวัฒนาการจากสัตว์ที่เดิน 4 เท้ามาเดิน 2 เท้า ทำให้น้ำหนักของเลือดในส่วนบนของร่างกายถ่วงลงด้านล่าง ตรงบริเวณรอบทวารหนักมีหลอดเลือดดำประสานติดต่อกันเป็น 3 ชั้นหลอดเลือดดำนี้มีผนังบางเหมือนลูกโป่งเพราะตามธรรมชาติจะถูกกล้ามเนื้อของทวารหนักรัดให้ตีบแฟบอยู่เสมอ เมื่อผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ กล้ามเนื้อคลายตัว หลอดเลือดจะโป่งพองออกได้
ริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
สาเหตุริดสีดวงทวาร
อาการริดสีดวงทวาร มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1
มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนักเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกเลือดจะออกมากยิ่งขึ้น
ระยะที่ 2
อาการมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้นเริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้น แต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง
ระยะที่ 3
อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นเวลาถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าเดิม หรือเวลาจาม ไอ ยกสิ่งของหนัก ๆ ที่ความเกร็ง เบ่งในท้องเกิดขึ้น หัวริดสีดวงทวารจะออกมาข้างนอกทวารหนักแล้วก็กลับเข้าที่เดิมไม่ได้ ต้องเอานิ้วมือดัน ๆ เข้าไปถึงจะเข้าไปอยู่ภายในทวารหนักได้
ระยะที่ 4
ริดสีดวงกำเริบมาก โตมากขึ้น มองเห็นได้จากภายนอกอย่างชัดเจน เกิดอาการบวม อักเสบ อาการแทรกซ้อน รุนแรงมาก มีเลือดออกมาเสมอ อาจมีน้ำเหลือง เมือกลื่น และอุจจาระก็ยังตามออกมาอีกด้วยทำให้เกิดความสกปรกและมีอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดอาการคันร่วมด้วย บางทีอาจเน่าและอักเสบมากยิ่งขึ้น การติดเชื้อโรคเป็นไปได้ง่าย และเมื่อเลือดออกมาเรื่อย ๆ จะเกิดอาการซีด มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงจะเกิดอาการหน้ามืด
การป้องกันและรักษาริดสีดวงทวาร