บทความที่น่าสนใจ

 

การแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 168

ถ้าเราถูกมีดบาดเลื่อดไหลสักพัก เลือดก็จะหยุด และนี้เป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่มีกระบวนการการป้องกันการสูญเสียเลือดที่ป้องกันมิให้เป็นอันตรายหากบาดแผลไม่ใหญ่โตเกินไปนัก มนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่จะมีกระบวนการที่คล้ายๆกัน กระบวนการนี้เกิดจากปฏิกิริยาหลายขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่เพื่อทำให้เกิดก้อนเลือดแข็งอุดเส้นเลือดที่ขาดนั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อเกิดบาดแผลซึ่งสารเคมีหลายชนิดจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกับแคลเซียมและโปรตีนอีกหลายชนิดที่อยู่ใน Plasma เพื่อผลักเอนไซม์ชื่อ Prothrombines ซึ่งจะช่วยย่อยโปรตีนไฟบริโนเจน ซึ่งละลายใน Plasma กลายเป็นโปรตีนไฟบริน ซึ่งในที่สุดจะรวมตัวกันทำให้เป็น สายร่างแหที่สามารถจับเม็ดเลือดแดงให้เป็นก้อนไว้ได้ เพราะไฟบลินไม่ละลายในพลาสม่ากระบวนการนี้ต้องอาศัยไวตามินเค เป็นปัจจัยสำคัญด้วยนอกจากแคลเซียมเพราะการสร้างโปรตีนตัวหนึ่งในปฏิกิริยาลูกโซ่ดังกล่าวนี้ต้องการไวตามินเคเป็นตัวสำคัญดังนั้นการขาดสารอาหารที่มีไวตามินเคและแคลเซียมก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการแข็งตัวของเลือดลดน้อยลง

เกล็ดเลือด (อังกฤษ: platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) ซึ่งโดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte)ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น  

หน้าที่หลักของเกล็ดเลือด คือ การมีส่วนในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการหยุดการตกเลือด ณ จุดที่เนื้อเยื่อบุโพรงฉีกขาด พวกมันจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion) ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation) ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation)การก่อก้อน (clot) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) นี้สัมพันธ์กับการปลุกฤทธิ์การจับลิ่มของเลือดเป็นลำดับ (coagulation cascade) โดยมีผลลัพธ์ทำให้เกิดการพอกพูน (deposition) และการเชื่อมกันของไฟบริน (การห้ามเลือดทุติยภูมิ) กระบวนการเหล่านี้อาจซ้อนทับกันได้ สเปกตรัมมีตั้งแต่มีก้อนเกล็ดเลือดเป็นหลัก หรือ "ลิ่มขาว" ไปจนถึงมีก้อนไฟบรินเป็นหลัก หรือ "ลิ่มแดง" หรือแบบผสมที่ตรงแบบกว่า ผลลัพธ์คือ ก้อน บางคนอาจเพิ่มการหดตัวของก้อนและการยับยั้งเกล็ดเลือดในเวลาต่อมาเป็นขั้นที่สี่และห้าเพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์ และบ้างว่าขั้นที่หกเป็นการซ่อมบาดแผล

^