จำนวนผู้เข้าชม: 166
ในประเทศไทยปัจจุบันมีผึ้งอยู่ 4 ชนิด คือ
1 ผึ้งมิ้ม มีขนาดของตัวผึ้งและรัง เล็กที่สุดประมาณ 20 เซนติเมตร ในผึ้งทั้ง 4 ชนิดผึ้งมิ้มชอบสร้างรังบนต้นไม้และซุ้มไม้ที่ไม่สูงจนเกินไปนักลักษณะรัง เป็นรวงรังเดียว มันมักจะมีที่ปกปิดด้วยซุ้มไม้ ใบไม้และกิ่งไม้เพื่อป้องกันศัตรูพบเห็น
2 ผึ้งหลวง มีขนาดของตัวผึ้งและรังใหญ่ที่สุดประมาณ 0.5 ถึง 1 เมตร ผึ้งหลวงมักจะสร้างรังบนต้นไม้สูงๆในถ้ำหรือภายนอกของอาคารบ้านเรือน ลักษณะรวงรังมีชั้นเดียว ไม่มีที่ปกปิดเพราะมีพฤติกรรมดุร้ายที่สุดกว่าผึ้งทุกชนิด
3 ผึ้งโพรง มีขนาดตัวผึ้งใหญ่กว่าผึ้งมิ้มแต่เล็กกว่าผึ้งหลวง โดยสร้างรังในโพรงไม้ในอาคารบ้านเรือนที่มืด เช่น ภายในใต้หลังคา มีรวงรังหลายๆชั้นขนาดรวงรัง ประมาณ 30 เซนติเมตร
4 ผึ้งพันธุ์ มีขนาดตัวผึ้งใหญ่กว่าผึ้งโพรง แต่เล็กกว่าผึ้งหลวง เป็นผึ้งที่นำมาเลี้ยงจากต่างประเทศดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้นิยมเรียกว่า ผึ้งฝรั่งบ้าง ผึ้งอิตาเลี่ยนบ้าง
ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
ส่วนนอก ประกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อกปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง