บทความที่น่าสนใจ

 

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 115

       เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายคนเรามีโครงสร้างต่างกันและมีความหนาแน่นต่างกันด้วยเนื้อเยื่อเหล่านี้จึงมีความสามารถในการสกัดกั้นหรือดูดกลืนรังสีเอกซ์ไม่เท่ากันเครื่องเอกซเรย์ที่มีหลอด x-ray หมุนได้รอบตัวคนไข้พร้อมทั้งมีเครื่องนับรังสีเอกซเรย์ที่ผ่านทะลุคนไข้ออกมาในมุมต่างๆกันจะให้ข้อมูลออกมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าได้มากมายเมื่อนำสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการนับรังสี x นั้นไปป้อนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ก็สามารถคำนวณสร้างภาพอวัยวะภายในเป็น 3 มิติขึ้นให้ปรากฏจอโทรทัศน์ก็ได้วิธีการเช่นนี้สามารถทำให้ตรวจร่างกายได้ทีละระนาบได้โดยที่ไม่ต้องผ่าตัดพร้อมกันนั้นแค่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถี่ถ้วนรวดเร็วและไม่มีความเจ็บป่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงนับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของวิทยาศาสตร์การแพทย์เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกมีขนาดเล็กใช้สำหรับตรวจศีรษะและสมองเท่านั้นสำหรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถใช้ตรวจได้ทั่วร่างกายดังที่เราใช้กับพวกผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ

 CT SCAN คืออะไร
CT SCAN (ซีที สแกน หรือ Computerized Tomography Scan) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน

ประเภทของ CT scan
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบภาพตัดขวางพื้นฐาน (Conventional CT Scan) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงรอบตัวผู้ป่วย เพื่อให้รังสเอ็กซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วย 1 รอบ จะได้ภาพ 1 ภาพ โดยเตียงจะเลื่อนไปทีละตำแหน่ง ภาพที่ได้จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพตัดขวางของอวัยวะได้ทีละภาพ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียว (Spiral/Helical CT Scan) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงอยางต่อเนื่องรอบตัวผู้ป่วย เมื่อรังสีเอกซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วยจะได้ภาพหลายภาพ ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าแบบพื้นฐาน และได้ภาพที่มีความแม่นยำสูงกว่า

^