บทความที่น่าสนใจ

 

การรับกลิ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม: 232

   การรับรู้กลิ่น หรือการดมกลิ่น คือหนึ่งในระบบของร่างกายมนุษย์ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของจมูก (Nose) ซึ่งเป็นอวัยวะรับกลิ่นจากวัตถุและสิ่งแวดล้อมภายนอกกับสมองส่วนหน้า (Forebrain) ที่ผสานงานการรับรู้ เพื่อส่งต่อสัญญาณไปยังสมองใหญ่ “ซีรีบรัม” (Cerebrum) ที่มีหน้าที่ประมวลผลของข้อมูลหรือกลิ่นที่ได้รับ ก่อนทำการออกคำสั่งต่อไปยังร่างกายส่วนต่าง ๆ เพื่อควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองที่เหมาะสม

ส่วนของประสาทการรับกลิ่น (Olfactory Region)   บริเวณส่วนบนและด้านหลังของจมูก ซึ่งภายในประกอบด้วยบริเวณรับกลิ่น มีเยื่อบุเรียกว่า “ออลแฟคทอรีเอพิทีเลียม” (Olfactory Epithelium) มีเซลล์ประสาทรับกลิ่น (Olfactory Receptor) ฝังอยู่ราว 60 ล้านเซลล์ เซลล์รับกลิ่นเป็นเซลล์ประสาทชนิดสองขั้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายเส้นขน (Hair) หรือซีเลีย (Cilia) ที่หากได้รับการกระตุ้นแล้วจะเกิดการส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (Olfactory Tract) ไปยังสมอง เพื่อประมวลผล

  

     กลิ่น เป็นโมเลกุลระเหยง่ายร่องรอยในอากาศเมื่อเราสูดลมหายใจเข้ากลิ่นจะไหลไหลพลูเข้ามาในช่องจมูกผ่านเนื้อเยื่อบุพรุนมีช่องให้กลิ่นผ่านเข้าไปได้อากาศส่วนนี้จะไหลผ่านไปตามช่องแคบแคบซึ่งอยู่ใต้สมองบริเวณตั้งจมูกกลิ่นจะผ่านพื้นผิวขณะเม็ดกระดุมเล็กๆซึ่งมีเมือกปกคลุมและที่นี้เองจะเกิดกระบวนการรับกลิ่นการรับกลิ่นพอจะเรียกได้ว่าส่งสัญญาณโดยตรงเข้าสู่ส่วนของสมองที่เรียกว่ากลีบลิมบิก (Limbic robe) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมความทรงจำและอารมณ์ได้โดยตรงเพราะจะผ่านจุดเชื่อมของประสาทเพียงจุดเดียว (การรับเสียง การมองเห็นและการรับสัมผัส จะส่งผ่านจุดเชื่อมของประสาทมากมาย หลายทอดก่อนที่จะถึงกลีบลิมบิก) กลีบลิมบิก เป็นส่วนของสมองที่ยื่นออกมาเหนือดั้งจมูกจะทำหน้าที่กรองสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องและคัดเลือกแต่ความประทับใจส่งต่อไปยังสมอง

    

 การรับกลิ่น เป็นการทำงานที่ซับซ้อนระหว่างจมูกและสมองส่วนหน้าบริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (Olfactory bulb) เพื่อส่งต่อสัญญาณไปยังสมองส่วนซีรีบรัมให้ แปลข้อมูลว่าเป็นกลิ่นอะไร หอมหรือเหม็น การรับรู้กลิ่นช่วยในการอยู่รอดของมนุษย์ทำให้รับรู้คุณภาพของอาหาร เป็นสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์และสัตว์อื่นๆ รู้ล่วงหน้าว่าภัยใกล้จะถึงตัว

การที่เราสามารถรับรู้กลิ่นต่างๆ รอบตัวได้นั้น ก็เพราะเรามีอวัยวะรับกลิ่นคือจมูก ซึ่งจมูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

1. เวสติบูลลาร์ (Vestibular region) ประกอบด้วย รูจมูกส่วนนอก มีทั้งขนจมูก และต่อมน้ำมัน

2. ส่วนหายใจ (Respiratory region) ประกอบด้วย ต่อมมีเมือก และเส้นเลือดฝอยมากมาย

3. ส่วนดมกลิ่น (Olfactory region) ประกอบด้วย Olfactory epithelium, Olfactory bulb และ Olfactory tract หรือ ประสาทสมองคู่ที่ 1 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น

  

การรับกลิ่นเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของ สารผ่านจมูกในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 จนถึงส่วนที่ 3 และสัมผัสกับเซลล์ Olfactory cilia ซึ่งมีลักษณะเป็นขนอยู่ด้านนอกสุด จากนั้นจึงไปกระตุ้นให้ Olfactory receptor cell ซึ่งเป็นเซลล์รับกลิ่น ซึ่งเซลล์นี้จะส่งกระแสประสาท ไปยัง Olfactory bulb (จุดรวมของ Olfactory nerve ทั้งหมด) แล้วจึงผ่าน Olfactory tract ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เข้าสู่สมอง โดยจะแยกเป็น 2 ทาง คือ ไปสู่ medial olfactory area และไปสู่ lateral olfactory area medial olfactory area ของสมองมีความสำคัญในสัตว์มากเพราะส่วนนี้ควบคุม primitive respons ของการรับกลิ่น เช่น การเลียริมฝีปาก น้ำลายไหล และการกินอาหาร ฯลฯ ตลอดจนแรงผลักดันทางอารมณ์ (emotional drive) เมื่อได้รับกลิ่น

กลิ่นที่จะกระตุ้นเซลล์รับกลิ่นได้ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ

1. ระเหยได้ในอากาศ เพื่อสูดผ่านเข้าจมูกได้

2. ละลายน้ำได้ดี เพื่อผ่านเยื่อบุจมูกไปสู่เซลล์รับกลิ่นได้

3. ละลายได้ดีในไขมัน เนื่องจากเซลล์รับกลิ่นมีสารไขมันเป็นองค์ประกอบ

^