วิดีโอที่น่าสนใจ
โปรดทราบ การใช้เครื่องคอมหรือมือถือเครื่องเดียว ดูหลายวิดีโอพร้อมกัน จะทำให้คุณไม่ได้รับค่าชมวิดีโอ
ผู้เช้าชม
ความยาววีดีโอ
รายได้เมื่อชมวีดีโอจบ
Covid 19 เป็นชื่อที่ถูกย่อมาจาก Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 หรือ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดและการติดเชื้อทางเดินหายใจประเภทอื่น ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเชื่อไวรัสชนิดนี้ อาจมีอาการของโรคใน 2 – 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อ
กลุ่มอาการของผู้ป่วยโควิด-19
- ไข้ - เจ็บคอ
- ไอ - ปวดศรีษะ
- เหนื่อย หรืออ่อนเพลีย - เจ็บหน้าอก
- สูญเสียการรับรสชาติหรือดมกลิ่น - ตาแดง
- หายใจลำบาก - คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย - ท้องเสีย
- หนาวสั่น - มีผื่น
ใครบ้างจัดเป็น “กลุ่มเสี่ยง”
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค
โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหอบหืด
โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว
โรคไตเรื้อรัง เช่น โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
โรคทางเดินระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง
มะเร็งชนิดต่าง ๆ
เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
โรคอ้วน คือ บุคคลที่มีน้ำหนัก >90 กก. หรือ BMI > 30 กก.
นานแค่ไหนก่อนที่ผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าจะเริมแสดงอาการ
โดยเฉลี่ย จะใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน จึงจะแสดงอาการแต่อย่างใดก็ตามจากการศึกษา พบว่าอาการอาจปรากฏขึ้นในระหว่าง 2 ถึง 14 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อ
ไวรัสโคโรน่าแพร่กระจายอย่างไร ?
การแพร่กระจายมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในที่ปิดสนิทมากกว่ากลางแจ้งที่กระแสอากาศช่วยกระจายและเจือจางอนุภาคไวรัส การแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าจากคนสู่คนนั้นส่วนใหญ่ เกิดขึ้นผ่านละอองฝอยของสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งอนุภาคไวรัสอาจอยู่รอดได้ภายใน 3 ชั่วโมง หลังออกจากร่างกาย นอกจากนี้ไวรัสอาจยังสามารถแพร่กระจายของเชื้อในระดับต่ำมากตามที่ CDC ได้ให้ข้อมูลไว้ ทั้งนี้สรุปได้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อมักเกิดขึ้นในสถานที่ปิดมิดชิดมากกว่ากลางแจ้ง ซึ่งกระแสลมเป็นปัจจัยของการแพร่กระจายเชื้อ ตลอดจนปัจจัยในการเจือจางอนุภาคไวรัส
การป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ คือ การหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการสัมผัสผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19
การดูแลสุขอนามัยมือ โดยการล้างมือเป็นประจำอย่างน้อย 20 วินาที ด้วยน้ำและสบู่
ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอลที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 60% ขึ้นไป
ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
ระมัดระวังการสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก และปากด้วยมือที่ยังไม่สะอาด
รักษาระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 2 เมตร และหลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่แออัด
หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ได้รับการสัมผัสอยู่บ่อยครั้ง เช่น โทรศัพท์มือถือ คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์
ระมัดระวังในการรับประทานอาหารร่วมกัน เน้นการแยกจาน ช้อน ส้อมส่วนตัวในการรับประทานอาหาร ตลอดจนจำกัดการรับประทานอาหารร่วมกัน
คณะกรรมการภาวะฉุกเฉินกฎอนามัยอนามัยระหว่างประเทศ หรือ International Health Regulations (2005) (IHR) Emergency Committee Emergency Committee) ของ WHO ได้มี การประชุมครั้งที่ 15 หารือเกี่ยวกับการแพร่ระบาดในวันพฤหัสบดี(4 พ.ค.) ซึ่งคณะกรรมการได้ชี้ถึงแนวโน้มการเสียชีวิตจากโควิด-19ที่ลดลงของ การลดลงของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และการเข้ารักษาในหอผู้ป่วยหนัก ขณะที่ภูมิคุ้มกันของประชากรต่อโรคไวรัสโคโรนา(SARS-CoV-2)อยู่ในระดับสูง อีกทั้งคณะกรรมการได้ติดตามสถานการณ์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แม้ตระหนักดีว่ายังมีความไม่แน่นอนจากวิวัฒนาการไวรัส SARS-CoV-2 แต่เสนอว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ไปสู่การจัดการการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในระยะยาวเลขาธิการองค์การอนามัยโลก เห็นด้วยกับคำแนะนำของคณะกรรมการเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จึงประกาศเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินโลกด้านสาธารณสุข(Public Health Emergency of International Concern-PHEIC) อีกต่อไป
WHO ประกาศการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ เป็นภาวะฉุกเฉินโลกด้านสาธารณสุข
ขณะที่ประชากรมีภูมิคุ้มกันมากขึ้นจากการได้รับวัคซีนและการติดเชื้อ ส่วนการเสียชีวิตลดลง และแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุงก็ผ่อนคลายลง” ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส เลขาธิการองค์การอนามัยโลก กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์“แนวโน้มนี้ทำให้ประเทศส่วนใหญ่กลับมาใช้ชีวิตเหมือนที่เราเป็นก่อนโควิด-19” “เมื่อวานนี้ คณะกรรมการฉุกเฉินได้ประชุมกันเป็นครั้งที่ 15 และแนะนำให้ผมประกาศยุติภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก็เห็นด้วย”องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศในเดือนมกราคม 2563 ประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนที่จะระบุว่าเป็นการระบาดใหญ่(pandemic)
“หนึ่งในโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโควิด-19 คือ มันไม่น่าจะเป็นแบบนี้ เรามีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น ตรวจจับได้เร็วกว่า ตอบสนองเร็วกว่า และสื่อสารผลกระทบได้ แต่ทั่วโลกขาดการประสานงาน ขาดความเท่าเทียม และขาดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หมายความว่าเครื่องมือเหล่านั้นไม่ได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร” ดร.เทดรอสกล่าว “เราต้องสัญญากับตัวเองและลูกๆ หลานๆ ว่าเราจะไม่ทำผิดพลาดแบบนั้นอีก”