วิดีโอที่น่าสนใจ

 

EP.1 HOW TO MAKE YEE-PENG LANTERN (การทำโคมไฟ ยี่เป็ง)

โปรดทราบ การใช้เครื่องคอมหรือมือถือเครื่องเดียว ดูหลายวิดีโอพร้อมกัน จะทำให้คุณไม่ได้รับค่าชมวิดีโอ

154

ผู้เช้าชม

0 / 5:24

ความยาววีดีโอ

0 บาท

รายได้เมื่อชมวีดีโอจบ

เกี่ยวกับวีดีโอ / สร้างรายได้

สร้างรายได้ : ทุกๆ 6 ชั่วโมง
ความยาววีดีโอ : 5 นาที 24 วินาที
ช่วงเวลา : ทุกๆ 6 ชั่วโมง

รายละเอียดวีดีโอ

  

 

ประเพณีเทศกาลลอยโคม ยี่เป็ง

ประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา

ยี่เป็งเป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า"ยี่"แปลว่า สอง และคำว่า"เป็ง"ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง จะจัดงานเป็นเวลา 3 วัน

เมื่อถึงวันนี้ ในงานบุญยี่เป็ง นอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา

 มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 

 ลอยกระทงเป็นเทศกาลประเพณีในประเทศไทย ลอยกระทงมีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศไทย รวมทั้งภาคเหนือ มีโคมไฟน้ำที่ถวายแด่เทพเจ้าแห่งแม่น้ำเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดีและขอโทษสำหรับมลพิษทางน้ำ ลอยแปลว่า ลอยน้ำ และ กระทง หมายถึง ทำโคมลอยน้ำ ตามประเพณีไทย คนไทยจะใส่โคมลงในแม่น้ำในช่วงวันลอยกระทงและลอยไปตามน้ำเพื่อปัดเป่าความโชคร้าย อธิษฐานขอพร โชค.

เทศกาลโคมไฟยี่เป็ง เทศกาลยี่เป็ง เป็นงานประเพณีเก่าแก่ที่มีอายุย้อนไปถึงอาณาจักรล้านนาโบราณ (ปลายศตวรรษที่ 13) สิ้นสุดฤดูมรสุมและต้นฤดูหนาวตามประเพณี คนไทยจะจุดโคมลอยในเทศกาลเพื่อขับไล่ความโชคร้ายและนำโชคมาให้ มีการเฉลิมฉลองในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะความเชื่อ

       ชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดีงามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์

ความสำคัญ

        เมื่อถึงเทศกาล "ยี่เป็ง" ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ วันอื่น เดือนอื่นไม่นิยมทำกัน

พิธีกรรม

1. การทำโคมลอย

โคมลอยทำด้วยกระดาษว่าว มีลักษณะสี่เหลี่ยมเรียกว่า "แบบกล่องข้าว" ลักษณะกลมเรียกว่า"ฮ้งมดส้ม" (รังมดแดง) ขนาดเล็กใช้กระดาษ 36 แผ่น ขนาดกลาง 72 แผ่น ขนาดใหญ่เกินกว่า 72 แผ่นขึ้นไปและประกอบด้วยหางไม่น้อยกว่า 6 ชิ้น ยาวขนาด 5-10 เมตร

2. การปล่อยโคมลอย

ก่อนจะปล่อยโคมลอย รมด้วยควันไฟให้พองก่อนแล้วจึงปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อขึ้นจากพื้นสูงพอสมควรแล้วจึงปล่อยหางซึ่งขมวดอยู่ให้คลี่ยาวออกมา พร้อมกับกระดาษรุ้งสีต่างๆ และกระดาษเงิน ทองลอยออกมาจากโคม ของใครขึ้นได้สูงและสวย และมีลูกเล่นแพรวพราวจะได้รับความนิยมชมชอบ ถ้าเป็นการประกวดถือว่าชนะที่หนึ่ง

  

นภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึง วันที่ จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ในงานบุญ ยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืน จะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า

  

เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยใน ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้น ถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำ กระทงขนาด ใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและ การละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)เพื่อบูชาพระรัตนตรัยการจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชาพระเกตุ แก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อ การปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน ใครบ้าน นั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้าน

 

^